โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งช่วงของเลนส์เป็น 3 ช่วงคือ มุมกว้าง(Wide angle) , มาตรฐาน(Normal) และ ถ่ายไกล(Telephoto)
โดยจะแบ่งจากทางยาวโฟกัสเทียบกับเส้นทะแยงมุมของ Image Sensor โดยถ้าทางยาวโฟกัสมากกว่ามากกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็นเลนส์ถ่ายไกล(Telephoto lens)
ถ้าทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็นเลนส์ระยะมาตรฐาน(Normal lens)
แต่ถ้ายาวโฟกัสมากกว่าน้อยกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็นเลนส์มุมกว้าง(Wide angle lens)
ซึ่งจากขนาดฟิล์มที่ 24*36 มม. ก็จะได้เส้นทะแยงมุมเท่ากับ 43 มม. แต่จำยาก เขาเลยกำหนดซะ ที่ 50 มม. ให้ถือว่าเป็นเลนส์ช่วงมาตรฐาน จะได้จำกันง่ายๆ
ซึ่งก็จะทำให้กำหนดได้คร่าวๆ ว่าตั้งแต่ราวๆ 40 มม. ลงไป จะถือเป็นช่วง มุมกว้าง (Wide) เช่น 35mm , 20mm , 8mm
ช่วง 40 – 60 มม. ก็จะถือเป็นช่วง มาตรฐาน(Normal) เช่น 40mm 50mm 60mm
และที่มากกว่า 60 มม. ก็จะเป็นช่วง ถ่ายไกล(TelePhoto) เช่น 85mm , 100mm , 300mm , 600mm
ส่วนคำว่าเลนส์ซูม ซึ่งหลายคนใช้สับสนกับเลนส์เทเล ก็ต้องอธิบายว่า เลนส์ซูมเป็นเลนส์ที่เปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ต่างกับเลนส์ที่กล่าวถึงด้านบนที่เปลี่ยนทางยาวโฟกัสไม่ได้เรียกว่าเลนเดี่ยว(Prime Lens) หรือบางคนเรีกยว่าเลนส์ฟิก ซึ่งเลนส์ซูมก็ยังแบ่งเป็นหลายๆ ช่วงอีก คือช่วงมุมกว้าง เช่น 20-35mmช่วงมาตรฐาน เช่น 35-70mm(อันนี้ติด tele อ่อนๆ ด้วย)ช่วงถ่ายไกล เช่น 70-300mmช่วงครอบจักรวาล เช่น 28-300mm
ช่วงกระโดด เช่น 20-35 แล้วไป 70-300 อันนี้ไม่มีผลิตนะครับ ใช้เปลี่ยนเลนส์เอา อิอิ
นอกจากนั้น ตามที่กล้อง Digital (ส่วนมากจะระดับ Compact) หลายๆยี่ห้อ มักจะโฆษณาว่า Zoom 10X Optical , Zoom 12X Digatal นั้น ทำให้หลายคนงง ว่าต่างกันอย่างไร และมันจะส่องไกลได้แค่ไหน
จึงขออธิบายให้เข้าใจแบบนี้ คือ
– คำว่า Zoom 10X นั้น ก็คือการนำระยะโฟกัสไกลสุดมาหารด้วยระยะโฟกัสใกล้สุดที่ซูมได้ เช่น 50-200 ก็จะได้ 4X แต่ 20-80 ก็ได้ 4X เท่ากัน ดังนั้นอย่าเพิ่งไปหลงคำว่ากี่X แต่ให้ดูด้วยว่าจะเอามาถ่ายแนวไหน ถ้าถ่ายวิว ให้เลือกระยะโฟกัสใกล้สุดน้อยๆ ไว้ก็จะยิ่งดี
– Optical Zoom คือ การซูมด้วยกระบอกเลนส์ ซึ่งทำให้ได้ภาพที่คุณภาพที่ความละเอียดเท่าเดิม
– Digital Zomm คือ การซูมด้วย Software ในกล้อง นั่นก็คือการ Crop ภาพนั่นเอง อ่าว งงอีกว่า Crop คืออะไร ก็คือการตัดภาพเอามาเฉพาะตรงที่เราซูมมาเท่านั้นเอง ซึ่งการทำแบบนี้ เราก็จะได้ภาพที่มีความละเอียดน้อยลง(ยิ่งซูมมากก็ยิ่งห่วยมาก) ซึ่งดูแล้วจะมีแต่ข้อเสีย แต่จริงๆ แล้วก็มีข้อดีอยู่(นิดนึง) ก็คือทำให้ภาพที่ได้มีขนาดเล็กลงประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บนั่นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น บางกล้องยังบอกการซูมแบบรวมคือ เอา Optical มาคูณกับ Digital ทำให้ดูว่าซูมได้เยอะอีกด้วย ดังนั้น เวลาเลือกซื้อก็ควรจะลองพิจารณาดูถึงระยะซูมและชนิดการซูมด้วยก็ดีนะครับ
เลนส์อีกชนิดที่เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายแบบหลังสู้ฟ้า หน้ามุดดิน
นั่นก็คือ เลนส์ถ่ายใกล้หรือเลนส์ถ่ายใกล้ (Macro Lens) เป็นเลนส์ที่สามารถถ่ายได้ใกล้มากกว่าปกติ ซึ่งจากโดยปกติแล้ว เลนส์ทั่วไปจะถ่ายใกล้สุดได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถเอาจ่อเข้าไปใกล้ๆ วัตถุได้ แต่เลนส์มาโครจะถูกออกแบบมาให้ทำได้ จึงทำให้เราสามารถถ่ายภาพได้ดูใหญ่ขึ้น โดยเลนส์มาโครนั้นจะมีคุณสมบัติต่อท้ายว่า กำลังขยายเท่าไหร่ เช่น 1:1 ก็จะหมายความว่าถ่ายได้กำลังขยายเท่าวัตถุจริง เมื่อเทียบกับฟิล์ม 35มม. (นั่นก็คือถ้าเอาไปถ่ายวัตถุขนาด 24*36มม. ก็จะถ่ายได้เต็มเฟรมของฟิล์มพอดี เวลาอัดออกมาก็จะดูใหญ่เท่ากระดาษอัดเลย)
แต่ตัวเลนส์เองก็มีข้อเสียในการถ่ายในระยะปกติเหมือนกัน ซึ่งก็คือ การปรับระยะชัดในระยะปกติจะไม่แม่นเท่าเลนส์ธรรมดา เพราะจะมีช่วงการปรับตั้งแต่ระยะ 1 ม. จนถึง infinity จะสั้นมาก คือหมุนนิดเดียวระยะชัดก็เปลี่ยนไปเยอะมาก
แล้วก็มีคำถามว่า เลนส์มาโคร 50มม. 1:1 กับ 100มม. 1:1 ต่างกันอย่างไร
ก็ต้องให้มาพิจารณากันก่อน ว่ากำลังขยายเท่ากัน คือ 1:1 แต่ที่ความยาวโฟกัสต่างกัน ก็ทำให้การที่จะได้ขนาดภาพเท่ากัน เลนส์ 50มม. จึงจำเป็นต้องเข้าใกล้มากกว่าเลนส์ 100มม. ซึ่งสำหรับการถ่ายภาพแมลง ระยะห่างก็นับว่าสำคัญทีเดียว เพราะถ้าใกล้มาก มันอาจจะตื่นหนีไปก็ได้

นอกจากเลนส์ที่ว่ามาแล้ว ยังมีเลนส์อีกชนิดนึงที่ไม่ค่อยมีความนิยมนัก(แต่ก็ยังเห็นคนหามาใช้เนืองๆ) นั่นก็คือ เลนส์ตาปลา(Fisheye Lens)
เลนส์ตาปลาเป็นเลนส์ที่ให้ภาพในมุมกว้างมากๆ เช่น 12mm 8mm (แต่เลนส์มุมกว้างขนาดนี้แต่ไม่เป็นตาปลาก็มีนะ)และให้สัดส่วนที่ผิดปรกติ คือตรงกลางจะนูนบวม(เหมือนกับกระจกนูนที่ติดอยู่ตามทางแยกต่างๆ)

ชนิดของเลนส์ว่ากันไปครบแล้ว ก็แถมอีกหน่อย สำหรับการดู Spec ของเลนส์ซึ่งผมเองก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องด้วยซ้ำ(แต่ดันทุรังจะเล่าเท่าที่เข้าใจแหละ แหะๆ)
หลายคนอ่าน Spec ที่ร้านแล้วก็งง ว่าตูจะรู้เรื่องไหมว่า อะไรเนี่ย AF 17-35/3.5 APO G ไหนจะ EF 600/4L IS อีก ดูแล้วงงวุ้ย ซึ่งผมเองก็ยังงงกับหลายๆตัวเหมือนกัน ฮ่าๆๆ แต่เอาเป็นว่า ให้แบ่งดูง่ายๆ อย่างนี้นะครับ
1.สัญลักษณ์ข้างหน้าของเลนส์ จะบอกเม้าท์ของเลนส์(ก็คือเลนส์นี้ปากมันจะใส่กับ Body แบบไหนได้นั่นแหละ) เช่น ของ Canon ก็จะเป็น EF , Nikon ก็จะมี AF,AF-S,AIS(อันนี้จะเป็นรุ่นเก่า) , Pentax (อันนี้เล่นอยู่พอรู้ดี) ก็จะมี K , M , A , F , FA , FA-J , DA , DFA (เห็นรุ่นเยอะแบบนี้แต่ใช้กันได้เกือบหมดนะจะบอกให้)
2.ตัวเลขถัดมา จะบอกทางยาวโฟกัส เช่น 20มม. 50มม. 200มม. 35-70มม.
3.ตัวเลขที่อยู่หลัง / จะเป็นตัวเลขที่บอกขนาดรูรับแสงกว้างสุด เช่น 50/1.4 ก็หมายความว่าสามารถเปิดรูรับแสงได้ตั้งแต่ f/1.4 จนถึง f/22 , 28-200/3.8-5.6 ก็หมายความว่าที่ 28มม. จะเปิดกว้างสุดได้ที่ 3.8 แต่ที่ 200มม. จะเปิดกว้างสุดได้แค่ 5.6
4. สัญลักษณ์ต่อท้าย ไม่ว่าจะเป็น APO XR L LD ซึ่งอันนี้แหละที่งง เพราะจำไม่ได้ แล้วแต่ แต่ละยี่ห้อจะนิบามกัน เช่น
Canon จะมี L ซึ่งหมายถึงเลนส์เกรดโปรราคาก็โปรตามไปด้วย , USM(Ultra Sonic Motor) เป็นมอเตอร์ในเลนส์ที่ทำให้หมุนได้เร็วและเงียบ ฯลฯ
Nikon จะมี G ที่หมายถึงเลนส์ที่ปรับโฟกัสภายใน เราจะหมุนจากภายนอกไม่ได้ ทำให้ใช้กับกล้งแมนน่วลไม่ได้
Sigma จะมี APO จะหมายถึงการใส่ชิ้นเลนส์พิเศษเพื่อปรับความคลาดเคลื่อนสีที่ขอบภาพ(หรือปรับสัดส่วนหว่า แหะๆ)
Pentax มีกับเขาไหมหว่า แหะๆ เอาเป็นว่าแค่นี้แล้วกัน ชอบค่ายไหนก็ไปศึกษากันเอาเองเน้อ

ยาวอีกแล้ววุ้ย ตอนนี้ พอก่อนดีกว่าครับ
ที่มา : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=redrum |