Depth of Field , Hyper Focus & Circle of Confusion

1727

Depth of Field , Hyper Focus & Circle of Confusion


เรื่องแรกที่ทำในส่วนของการถ่ายรูปจะยากไปป่าวหว่า แต่คิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคนถ่ายรูปพอสมควรเลย ก็เลยอยากเริ่มด้วยเรื่องนี้แหละ หลายๆ คน ที่ชอบถ่ายภาพ ก็คงชอบที่จะถ่ายแบบหน้าชัดหลังเบลอ เพื่อให้ Subject ดูเด่น เรื่องที่ผมจะพูดถึงก็เกี่ยวกับหน้าชัดหลังเบลอโดยตรงเลยล่ะ

ก่อนอื่นขอพูดถึงหลักการเดินทางของแสงว่าก่อนที่จะมากระทบฉากหลังที่รับแสง(ฟิล์มหรือCCD) นั้น แสงจะเดินทางจากวัตถุ ผ่านมายังเลนส์ แล้วลอดผ่านรูรับแสงแล้วจึงมากระทบกับฉากหลัง ออกมาเป็นภาพถ่าย

ทีนี้มาทำความรู้จักความหมายของแต่ละคำกันก่อน (ไม่รู้คำอย่างเป็นทางการนะ เพราะไม่ได้เรียนโดยตรง อาศัยครูพักลักจำเอาน่ะ)

Depth of Field (DoF) ก็คือระยะชัดลึกจากจุดที่ใกล้สุดที่เริ่มชัดจนถึงไกลสุดที่ชัด โดยในทางปฏิบัติเรารู้กันว่าขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง

Circle of Confusion (CoC) (อันนี้อธิบายยากแฮะ) ถ้าแปลตามตัวอักษรก็แปลว่า วงกลมของความสับสน แต่แปลแล้วงง เหอๆ อธิบายอย่างนี้ดีกว่า
ก็คือ หลังจากแสงจากวัตถุที่ผ่านเลนส์มา เลนส์ก็จะทำหน้าที่รวมแสงไปที่จุดโฟกัส ซึ่งจะมีลักษณะเป็นจุด(dot ไม่ใช่ point)ที่ระยะโฟกัสของระนาบวัตถุนั้นซึ่งเป็นจุดที่มีขนาดและพื้นที่ และระยะก่อนหรือหลังระยะโฟกัส แสงตรงจุดนั้น ก็จะเริ่มมีขนาดขยายออกเรื่อยๆ ซึ่งจุดของแสงนี่แหละ ที่เราเรียกว่า Circle of Confusion

ซึ่งด้วยตาของเรานั้น CoC ต้องใหญ่ประมาณนึงก่อนถึงเรียกว่าเบลอ ดังนั้นเราจึงมองเห็นระยะชัดอยู่ช่วงหนึ่ง นั่นก็คือที่มาของ Depth of Field ซึ่งการที่เราปรับขนาดของรูรับแสง ก็จะส่งผลต่อขนาดของ CoC คือยิ่งแคบก็ยิ่งเล็ก ส่งผลให้ภาพก็ยิ่งชัดลึก และส่งผลให้ภาพคมขึ้นด้วย

แต่ว่าทำไมเรากลับเจอที่บอกว่าเลนส์จะคมที่สุดที่รูรับแสงแค่ช่วงนึงซึ่งไม่ใช่ที่แคบที่สุดล่ะ
อันนี้ต้องบอกว่ามันเป็นค่า Error ที่เกิดจากการฟุ้งของแสง หลังจากผ่านรูรับแสง ซึ่งมื่รูรับแสงแคบขึ้น % ของการฟุ้งจะมากขึ้นไปด้วย(ปริมาณการฟุ้งอาจเท่าเดิมแต่เมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนกับรูรับแสงแล้วจะถือว่าสูงขึ้น)
ดังนั้นจะพบว่าเลนส์ส่วนใหญ่จะมีช่วงชัดสุดอยู่ที่รูรับแสงราวๆ f/9 – f/16

ต่อมา เราจะมาพูดถึง Hyper Focus (HF)

Hyper Focus ก็คือ เทคนิคการนำผลของ Depth of Field มาใช้ประโยชน์นั่นเอง แค่นี้ล่ะ แหะๆ
แต่เอามาใช้ยังไงนี่สิ ต้องมาดูวิธีใช้กัน

โดยหลักการของ HF แล้ว จะมีสูตรอยู่ว่า “ช่วงความชัดด้านหลังจุดที่เราโฟกัสจะมีระยะทางเป็นสองเท่าของช่วงความชัดด้านหน้าจุดที่เราปรับโฟกัส” แต่ในทางปฏิบัติของการใช้ มันก็ไม่ได้ไปมองมันเท่าไหร่
การใช้ HF จะมีสเกลที่ดูได้ง่าย ในเลนส์รุ่นเก่าๆ

Depth of Field , Hyper Focus & Circle of Confusion, focus, digital focus, microfocus, โฟกัส, คมชัดลึก, ชัดตื้น, รูปภาพ, การถ่ายภาพ, เทคนิคการถ่ายภาพ, ภาพถ่าย

จากรูปจะเห็นว่า มีตัวเลขที่ขีดสีเหลืองอยู่ ซึ่งขีดและตัวเลขนี้แหละจะเป็นสเกลที่บอกว่า ระยะชัดอยู่ตรงไหน
เช่นในรูป ถ้าใช้รูรับแสง f/11 ระยะชัดจะอยู่ที่ 4 ม. จนถึง infinity แต่ถ้าใช้รูรับแสง f/2.8 ระยะชัดจะอยู่ที่ราวๆ 7.5 ถึง 15 ม.

ทีนี้มาดูการใช้ HF

เราก็ต้องเริ่มมาดูก่อนว่า เราต้องถ่ายให้ชัดจากระยะไหนถึงไหน เช่น กอหญ้าอยู่ที่ 0.8 ม. จนถึง ภูเขาที่ infinity
จากนั้นเราก็มาหมุนปรับโฟกัสที่เลนส์ ให้ตรงกลางระหว่าง 0.8 กับ inf อยู่ตรงกับขีดกลาง แล้วเราก็ดูว่าที่ 0.8 กับ inf นั้น ตรงกับเลขอะไร
แล้วเราก็ปรับรูรับแสงไปที่ค่านั้น แล้วก็ถ่าย เราก็จะได้ภาพที่ชัดตั้งแต่ 0.8 – inf ดังรูป

Depth of Field , Hyper Focus & Circle of Confusion, focus, digital focus, microfocus, โฟกัส, คมชัดลึก, ชัดตื้น, รูปภาพ, การถ่ายภาพ, เทคนิคการถ่ายภาพ, ภาพถ่าย

นอกจากนั้นเรายังสามารถเพิ่ม DoF ได้โดยใช้เทคนิคของ HF ด้วย
เช่น เราต้องการถ่ายภูเขาที่ inf ถ้าเราไปโฟกัสที่ inf ตาม

Depth of Field , Hyper Focus & Circle of Confusion, focus, digital focus, microfocus, โฟกัส, คมชัดลึก, ชัดตื้น, รูปภาพ, การถ่ายภาพ, เทคนิคการถ่ายภาพ, ภาพถ่าย

จะเห็นว่า ระยะชัดจะอยู่ที่ 1.5 ม. ถึง inf
แต่เราต้องการให้ชัดลึกกว่านั้น เราก็ทำการปรับระยะโฟกัสให้ที่ inf มาอยู่ที่สเกลของ f/16 เราก็จะได้ระยะชัดเพิ่มขึ้นเป็น 0.8 ม. ถึง inf ตามรูป

Depth of Field , Hyper Focus & Circle of Confusion, focus, digital focus, microfocus, โฟกัส, คมชัดลึก, ชัดตื้น, รูปภาพ, การถ่ายภาพ, เทคนิคการถ่ายภาพ, ภาพถ่าย

จบแล้วครับ

ปล.ขอแถมรูปเกี่ยวกับรูปนี้ให้ไปดูกันหน่อย หวังว่าจะทำให้เข้าใจเรื่อง CoC และ DoF มากขึ้น

Depth of Field , Hyper Focus & Circle of Confusion, focus, digital focus, microfocus, โฟกัส, คมชัดลึก, ชัดตื้น, รูปภาพ, การถ่ายภาพ, เทคนิคการถ่ายภาพ, ภาพถ่าย

ที่มา : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=redrum