โรคจะแพร่ระบาดเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

2236

โรคจะแพร่ระบาดเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง


โรคจะแพร่ระบาดเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง, โรคเอดส์, โรคเบาหวาน, โรค, โรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, โรคภูมิแพ้

วันหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิปี 2536 ชายหนุ่มที่มีสุขภาพแข็งแรงดีถูกส่งตัวเขาโรงพยาบาล ในนิวเม็กซิโกเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ภายในไม่กี่ชั่วโมง เขาเสียชีวิตเนื่องจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เขาถูกนำไปประกอบพิธีฝังเคียงข้างคู่หมั้นของเขา ที่เสียชีวิตก่อนหน้านี้เนื่องจากสาเหตุที่คล้ายคลึงกัน ภายในหนึ่งสัปดาห์แพทย์พบการเสียชีวิตที่คล้ายคลึงกันจำนวนหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ เหยื่อทุกรายมีอายุน้อยและค่อนข้างแข็งแรง

อะไรคือสาเหตุ? คำตอบคือ ไวรัสฮันทา (Hantavirus) ซึ่งไม่เคยเป็นที่รู้จักในสหรัฐฯ ก่อนปี 2536 ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2549 มีการค้นพบผู้ป่วย 416 รายในรัฐต่างๆ ที่ห่างกันคนละฝั่งอย่าง รัฐฟลอริดา และนิวยอร์ก

ไวรัสฮันทา คือโรคปอดชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายโดยพาหะเช่น deer mice คนติดโรคนี้โดยการหายใจเอาไวรัสที่แพร่กระจาย ในอากาศผ่านทางอุจจาระและปัสสาวะของหนูเข้าสู่ร่างกาย

นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัยถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลง ของสภาพอากาศและการระบาดของไวรัสฮันทาในปี 2536-37 หกปีแห่งความแห้งแล้งตามด้วยฝนฤดูใบไม้ผลิในปี 2536 ที่ตกอย่างหนักทำให้พืชงอกงามทุกหนทุกแห่ง ขั้นตอนของกระบวนการนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า ของประชากร deer mice สภาพอากาศที่รุนแรงเช่น ความแห้งแล้ง และห่าฝนที่เชี่ยวกราก จะกลายเป็นเรื่องทั่วไปที่จะเกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโลกร้อนขึ้น

ยุงและหนูที่ร่อนเร่ พาหะของโรค

สภาพอากาศเป็นตัวจำกัดวิธีการแพร่กระจายของโรคจำนวนมาก ในสหรัฐ สภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นและฝนตกที่ตกหนักและยาวนานขึ้นช่วยแพร่กระจายไวรัสฮันทา ในประเทศอื่นๆ โลกที่ร้อนขึ้นกำลังช่วยขยายขอบเขตของแมลงที่เป็นพาหะนำโรคอย่างเดงกิว และไข้เหลือง คนที่ไม่เคยมีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงเล็กน้อย ต่อการติดโรคเหล่านี้ควรจะต้องวิตกกับโรคเหล่านี้ในไม่ช้า แม้มาตรการอื่นๆ อาจมีประสิทธิภาพในการจำกัดโรคที่สามารถติดต่อกันได้ไว้ในวงแคบๆ แต่อิทธิพลของสภาพอากาศต้องการมาตรการที่เด็ดขาดยิ่งขึ้นหรือมีแนวโน้มที่จะทำให้มาตรการใดๆ ต้องล้มเหลว

เช่นเดียวกับไวรัสฮันทาที่ปรากฏตัวขึ้นอย่างทันทีทันใดในสหรัฐ มีการรายงานถึงการระบาดของโรคชนิดต่างๆ ในส่วนต่างๆ ของอเมริกาใต้ และแอฟริกาที่โลกยังไม่เคยรู้จักจนถึงปัจจุบันนี้ ในเม็กซิโก ไข้เดงกิวแพร่ระบาดในวงกว้างเหนือขีดจำกัดของระดับความสูง 3300 ฟุตเดิมที่มันเคยออกฤทธิ์มาก่อนไปอยู่ที่ระดับความสูง 5600 ฟุต ในโคลัมเบีย ยุงที่มีไวรัสไข้เดงกิวและไข้เหลือง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยพบที่ความสูงไม่เกิน 3300 ฟุต แต่บัดนี้กลับถูกพบที่ระดับความสูง 7200 ฟุต (เอปสไตน์ ,พี)

ขณะที่ยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคได้อพยพไปยังพื้นที่แห่งใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การศึกษาในปี 2541 แสดงให้เห็นถึงผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตที่เราจะต้องเผชิญ จากการใช้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกแบบต่างๆ 3 แบบ นักวิจัยพบว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ เพียงเล็กน้อยช่วยเพิ่มโอกาสในการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคเดงกิว (แพทซ์) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เราจำเป็นต้องควบคุมยุง ให้มีจำนวนน้อยลงหรือควบคุมการแพร่กระจายโรคที่ร้ายแรง และบ่อยๆ ครั้งที่ร้ายแรงถึงตายเหล่านี้

ที่มา : https://liveearth.th.msn.com