หมู่เกาะสิมิลัน-จังหวัดพังงา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 128 ตารางกิโลเมตร และในปี พ.ศ. 2541 ได้ผนวกรวมเกาะตาชัย ทำให้มีพื้นที่ทั้งหมด 140 ตารางกิโลเมตร
สิมิลัน เป็น ภาษามลายู แปลว่า เก้า เป็นที่มาของการเรียกชื่อ หมู่เกาะทั้งเก้าเกาะ ได้แก่ เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมี่ยง เกาะปาหยัน เกาะปายัง และเกาะหูยง แต่ที่เรียกกันของชาวเรือ จะเรียกนับจากใต้ไปเหนือ ตามลำดับ เกาะหนึ่ง เกาะสอง เกาะสาม เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหก เกาะเจ็ด เกาะแปด (เกาะสิมิลัน) และเกาะเก้า
หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ครอบคลุมพื้นที่เกาะและห้วงน้ำทะเลรอบเกาะที่มีปะการังสมบูรณ์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นเนื้อที่ประมาณ 128 ตร.กม. ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 123 ลงวันที่ 1 ก.ย. 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 ของประเทศไทย โดยรวมเกาะบอนซึ่งอยู่ตอนเหนือของเกาะบางูเข้าไปด้วย และต่อมาได้ผนวกพื้นที่เกาะตาชัย เนื้อที่ 12 ตร.กม.เข้าเป็นอุทยานแห่งชาติเข้าไปอีก รวมพื้นที่อุทยานฯทั้งสิ้น 140 ตร.กม.
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขา มีหาดทรายและแนวปะการังที่สวยงามตามชายฝั่ง ในบริเวณนี้มีการลดตัวลงของพื้นทะเล มีการกัดเซาะพังทลาย โดยมีน้ำทะเลเป็นตัวกระทำอย่างรุนแรง ทำให้บริเวณเกาะทั้ง 9 เกาะ เกิดเป็นลักษณะภูมิประเทศที่แปลกตา มีรูปร่างต่างๆ อันเป็นผลมาจากขบวนการกัดเซาะ สำหรับหินที่พบในหมู่เกาะสิมิลัน ทั้ง 9 เกาะ เป็นหินอัคนี อายุราว 65 ล้านปี
ปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
แนวปะการังหมู่เกาะสิมิลันเกือบทั้งหมดเป็นแนวปะการังน้ำลึก ไม่มีขอบแนวที่แน่นอน ด้านติดฝั่งเป็นพื้นทรายก่อนลาดเอียงสู่ท้องทะเลอย่างรวดเร็ว มีปะการังอยู่เป็นกลุ่ม ไม่กระจัดกระจายเหมือนแนวปะการังทั่วไป มีความหลากหลายของชนิดปะการังมาก เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังลายดอกไม้ ปะการังหนวดถั่ว ปะการังลูกโป่งเล็ก ปะการังสีส้ม ปะการังดอกเห็ด ปะการังสมอง ปะการังนิ้วมือ ฯลฯ
นอกจากปะการังแล้ว ยังมีสิ่งมีชิวิตอื่นที่อาศัยร่วมอยู่ในแนวปะการังอีกหลายชนิด มี่สามารถพบได้ทั่วไป ได้แก่ ปะการังไฟ แส้ทะเล พรมทะเล ดอกไม้ทะเล ปะการังอ่อน ปะการังสีน้ำเงิน กัลปังหา ปากกาทะเล สาหร่ายพวงองุ่น ดาวหมอน ดาวหนาม หอยมือเสือ หอยสังข์ปากแตร หอยเต้าปูนหมึก กุ้งมังกร ปูเสฉวน ฯลฯ
สัตว์น้ำในกลุ่มของปลาในหมู่เกาะสิมิลันพบมากมีความหลากชนิดถึง 110 ชนิด ได้แก่ ฉลามวาฬ โรนัน กระเบนราหู ปลาอมไข่ ปลากะรัง ปลากะพง ปลาสีกุน ปลาสร้อยนกเขา ปลาโนรี ปลาผีเสื้อ ปลานกขุนทอง ปลาสาก ปลาวัว และปลาปากแตร เป็นต้น
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
กิจกรรมที่น่าสนใจบนเกาะต่างๆ
เกาะสี่ การเดินป่าศึกษาธรรมชาติบนเกาะสี่ มีทางเดินเท้าไปยังหาดเล็ก ซึ่งระหว่างทางสามารถศึกษาสภาพธรรมชาติ ของป่าดงดิบได้เป็นอย่างดี
ในช่วงเวลากลางคืนยังสามารถใช้เป็นเส้นทาง เพื่อไปศึกษาชีวิตของปูไก่อีกด้วย
ยังมีเส้นทางที่ไปชมวิวยามอาทิตย์อัสดง เริ่มเดินทางไปทิศตะวันตก ของเกาะมีป้ายบอกทางในระยะแรกๆ
เวลาประมาณ 1 ทุ่ม ทางศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมี วีดีโอ สิมิลัน ให้ชม ทั้งภาคภาษาไทย และอังกฤษ
เกาะแปด จากอ่าวเกือกม้าสัญลักษณ์สิมิลัน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติสู่อ่าววงช้าง ระยะทาง 2.5 กม. ควรมีเจ้าหน้าที่นำทางเพราะเป็นป่าดงดิบรกทึบ หรือเราอาจเลือกนั่งเรืออ้อมเกาะไปก็ได้
นั่งเรือเที่ยวเกาะต่างพร้อมดำน้ำ snorkeling
![]() |
![]() |
แหล่งท่องเที่ยว
เกาะหนื่ง(เกาะหูยง)
อยู่ทางตอนใต้สุดของหมู่เกาะสิมิลัน โดยมีแนวหาดทรายขาวละเอียดอยู่ทางด้านหน้าเกาะ น้ำทะเลใสสะอาด น่าเล่นแต่ชายหาดด้านหน้าเกาะหนึ่งหันหน้ารับลม ทำให้กระแสคลื่นลมค่อนข้างรุนแรง ยากแก่การขึ้นไปสัมผัสความงดงาม ทางธรรมชาติ แต่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชอบบรรยากาศแบบส่วนตัว จุดชมวิวที่นี่สวยงามไม่แพ้เกาะแปด บนเกาะนี้เป็นเกาะที่เต่าทะเลมาวางไข่ แต่ปัจจุบันเหลือน้อยมเต็มที สาเหตุหลักก็มาจากมนุษย์นี่เอง
เกาะสี่(เกาะเมี่ยง)
เป็นเกาะใหญ่อันดับสอง รองจากเกาะสิมิลัน หาดทรายด้านหน้าเกาะสี่ด้านซ้ายสุด จะว่ายไปจากริมหาด หรือเดินป่าไปเล็กน้อยก็ได้สังเกตุได้ง่าย เกาะสี่เป็นแหล่งว่ายน้ำที่ดีเพราะนอกจากหาดทรายที่ขาวแล้ว ยังเปํนเวิ้งอ่าวเป็นแอ่งกระทะที่ค่อนข้างชัน สีน้ำทะเลจะออกเป็นสิมรกต และเม็ดทรายก็ขาวละเอียด ด้านหัวแหลมทิสตะวันออก เราสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นได้อย่างสวยงาม ด้านหลังของเกาะมีเส้นทางทะลุไปยังหาดเล็ก ซึ่งเป็นแนวชายหาดด้านหลังเกาะสี่ซึ่งเป็นจุดที่น่าท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่ง ที่นี่มีแนวปะการังน้ำตื้น
ที่นี่ ถือได้ว่าเกาะสี่นี่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ มากที่สุด ได้แก่ ที่พักแรม ที่กางเต็นท์ได้ ร้านค้า ร้านอาหาร ห้องน้ำห้องสุขา ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ แต่ที่นี่จะจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ดังนั้น ในฤดูท่องเที่ยว เราควรจองที่พักแต่เนิ่นๆ
เกาะเจ็ด เกาะบางู เกาะหัวกะโหลก
เป็นที่รู้จักกันดี ในนามเกาะหัวกะโหลก เพราะลักษณะของกองหินกลางน้ำที่คล้ายหัวกะโหลก สภาพใต้น้ำของเกาะนี้นับได้ว่าสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง และมีความลึกที่แตกต่างกันไปหลายระดับชั้น สภาพเหมือนหุบเขาใต้น้ำที่เต็มไปด้วยปะการัง และหุบเหวลึกน่ากลัว ที่นี่เป็นแหล่งดำน้ำลึกทีจัดว่าสวยงามมาก ถ้าโชคดีอาจได้เห็นปลาโลมา
เกาะแปด (เกาะสิมิลัน)
เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด สัญลักษณ์ ที่เด่นคือ ก้อนหินคล้ายรูปเรือใบ และเป็นเกาะเดียวที่มีลำธารขนาดเล็กไหลผ่าน น้ำทะเลที่นี่ค่อนข้างลึก ใต้น้ำอุดมไปด้วยปะการัง กัลปังหา พัดทะเล และกุ้งมังกร
ความสวยงามยังมีอยู่ที่ น้ำใส หาดทรายสวย ปะการังหลากสี เกาะสิมิลันจะมีอ่าวเล็กๆ อยู่ทางตะวันตก อ่าวที่นี่มีลักษณะโค้งคล้ายรูปเกือกม้า ด้านทิศเหนือของเกาะ มีแหล่งปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ดขนาดใหญ่ นอกจากนี้บนเกาะยังมีทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติ จากอ่าวเกือกม้าไปยังอ่าววงช้างระยะทาง 2.5 กม.อีกด้วย แต่ควรมีเจ้าหน้าที่นำทางเพราะเป็นป่าดงดิบรกทึบ
บนเกาะนี้มีหาดทรายละเอียดราวกับแป้ง น้ำทะเล(ดังรูป) ใสสะอาดเหมาะแก่การว่ายน้ำและดำน้ำเป็นทีสุด มีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาได้อย่างดี จุดสูงสุดของ หมู่เกาะสิมิลันอยู่ที่นี่ ถึงแม้จะมีป่าเขาอันอุดมสมบูรณ์ลำธารไหลผ่าน แต่แหล่งน้ำจืดก็มีจำนวนจำกัด ที่นี่ไม่อนุญาติให้นักท่องเที่ยวกางเต้นท์ ไม่มีบ้านพักนักท่องเที่ยว เหมือนเกาะสี่ มีแต่ที่ทำการอุทยานฯ บ้านพักของเจ้าหน้าที่ ร้านค้า ร้านอาหาร และห้องน้ำเท่านั้น (ต้องทำใจไว้หน่อยครับ ถ้าไปช่วงเทศกาล) น้ำอาจไม่พอ
เกาะตาชัย
เป็นเกาะโดดเดี่ยว อยู่ระหว่าเกาะสิมิลันและหมู่เกาะสุรินทร์ ประกอบไปด้วยหาดทรายยาวเหยียดขาวสะอาดและป่าไม้ร่มรื่นครึ้ม แต่ไม่มีน้ำจืดบนเกาะนี้ ที่นี่จัดได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งหนึ่งของการดำน้ำลึก ปัจจุบันเกาะนี้ถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะสิมิลัน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ฤดูกาลท่องเที่ยว
ปลายเดือนธันวาคม – กลางเดือนเมษายน เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวมากที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม
หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะกลางทะเลอันดามันที่เป็นเลิศในความงามของปะการังแห่งหนึ่งของโลก
สิมิลัน เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า เก้า ชาวประมงบางคนจึงเรียกว่า หมู่เกาะเก้า ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อย 9 เกาะด้วยกัน เรียงตัวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ได้แก่ เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมียง เกาะปาหยัน เกาะปายัง และเกาะหูยง
ชายฝั่งทะเลในบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน เป็นส่วนภาคตะวันออกของทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดียที่มีการลดตัวของพื้นทะเล จึงมีการกัดเซาะพังทลาย โดยมีน้ำทะเลเป็นตัวกระทำอย่างรุนแรงทำให้บริเวณเกาะทั้ง 9 เกาะ เกิดเป็นผลมาจากขบวนการกัดเซาะ สำหรับหินที่พบในหมู่เกาะสิมิลันทั้ง 9 เป็นหินอัคนีชนิด granite อายุของหินชนิดนี้อยู่ระหว่างยุค Tertiary – Cretaceous ประมาณ 65 ล้านปีที่ผ่านมา
แนวปะการังที่พบในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็น แนวปะการังน้ำลึก มีความหลากหลายของชนิดปะการังมาก เช่น ปะการังเขากวาง แปรงล้างขวด และปะการัง Seriatopora histrix พบเป็นชนิดเด่นในขณะที่หมู่เกาะอื่นไม่พบปะการังในกลุ่มนี้เลย ( ยกเว้นหมู่เกาะสุรินทร์ ) บริเวณที่มี แนวปะการัง ได้แก่ เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะเมียง เกาะห้า เกาะปายัง เกาะปาหยัน และเกาะหูยง
นอกจากปะการังแล้ว ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาศัยรวมอยู่ในแนวปะการังอีกหลายชนิด ที่สามารถพบได้ทั่วไป ได้แก่ ฟองน้ำ ปะการังอ่อน กัลปังหา ดอกไม้ทะเล หอยมือเสือ หมึก กุ้งมังกร และปู สำหรับปลาในแนวปะการังได้มีการสำรวจและพบอย่างน้อย 54 ชนิด เช่น ปลากะรัง ปลากะพง ปลาหมูสี ปลาสร้อยนกเขา ปลาผีเสื้อ ปลานกขุนทอง เป็นต้น
![]() |
![]() |
![]() |
สถานที่น่าสนใจ
หมู่เกาะสิมิลัน เป็นหมู่เกาะที่ได้รับการยกย่องจาก นิตยสารสกินได้วิ่งของอเมริกา ว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ ซึ่งติดอันดับความงามเป็น 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งมี ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวมากที่สุด คือ ระยะปลายเดือนธันวาคม – กลางเดือนเมษายน ในเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุด น้ำใส และไม่มีมรสุม โดยมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่
เกาะสิมิลัน หรือเกาะแปด เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะสิมิลัน ใต้ทะเลสมบูรณ์ไปด้วยปะการัง กัลปังหา พัดทะเล ปลาหลากสี และกุ้งมังกร เกาะสิมิลันมีอ่าวเล็กๆ อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ อ่าวเกาะสิมิลันมีรูปโค้งเหมือนเกือกม้า ใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ไปด้วยกองหินและแนวปะการัง มีปลาเล็ก ปลาน้อยมากมาย สภาพหาดสวยงามมากเหมาะสำหรับ ดำน้ำดูปลาและปะการัง ทางด้านเหนือของอ่าวเป็นเกาะแก่งเล็กๆ ใต้น้ำอุดมไปด้วย ปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ดขนาดใหญ่ ทางใต้ของอ่าวเป็นโขดหินสลับกับแนวปะการัง ไปเป็นระยะตลอดแนวอ่าว ด้านทิศเหนือของเกาะมีก้อนหินขนาดยักษ์รูปร่างคล้ายรองเท้าบู้ท หรือหัวใจของโดนัลดักของวอลท์ดิสนีย์ ก้อนหินนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของเกาะสิมิลันหรือเกาะแปดเลยทีเดียว
หินปูซาร์หรือเกาะกะโหลก เป็นเกาะอันดับ 7 ของหมู่เกาะสิมิลัน มีลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ มีลักษณะแปลกมาก เมื่อมองดูจากมุมหนึ่งจะเห็นเป็นรูปหัวกะโหลก สภาพใต้น้ำของเกาะนี้สวยงามแห่งหนึ่ง และมีระดับความลึกที่แตกต่างกันออกไปหลายระดับชั้น สภาพเหมือนหุบเขาใต้น้ำที่เต็มไปด้วย ปะการัง และหุบเหวลึก ปลาใหญ่น้อยนับแสน พากันเวียนว่ายอยู่ตามก้อนหิน และบางครั้งมีโลมาปรากฏให้เห็น
เกาะหูยง เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาด และยาวมากที่สุดในหมู่เกาะเก้า เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล
เกาะเมียงหรือเกาะสี่ เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ มีแหล่งน้ำจืด หาดทรายสวยงาม เป็นแหล่งที่สามารถหาดู ปูขนและนกชาปีไน ได้ดีกว่าพื้นที่อื่น เป็นพื้นที่ที่ได้จัดไว้เพื่อการบริการ
จุดดำน้ำหลักๆ ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สามารถแบ่งออกได้เป็นจุดดำน้ำตื้นและจุดดำน้ำลึก ซึ่งได้แก่
จุดดำน้ำตื้น สามารถดำน้ำได้รอบๆ เกาะทุกเกาะ แต่มีบริเวณที่น่าสนใจ ได้แก่ อ่าวหิน เรือใบ อ่าวกวางเอน หินดอกไม้ และหลังเกาะเมียง
จุดดำน้ำลึก บริเวณที่น่าสนใจ ได้แก่ เกาะบอน กองหินคริสต์มาส กองหินแฟนตาซี อ่าวกวางเอน แหลมประภาคาร หินปูซาร์ หินสามก้อน หินดอกไม้ หัวเกาะเมียง สวนปลาไหล สันฉลาม และกำแพงเมืองจีน
การเดินทาง
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สามารถเดินทางได้ดังนี้
1. กรุงเทพฯ – ท่าเรือ ต.ทับละมุ สามารถเดินทางโดย รถโดยสารปรับอากาศ ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง หรือเดินทางโดย รถตู้ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง
2. ทับละมุ – ที่ทำการอุทยานฯ ( เกาะเมียง ) เดินทางโดย เรือยนต์จ้างเหมา ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
ขอขอบคุณเนื้อหาและรูปภาพจากเวบไซต์ต่าง ๆ
แหล่งที่มาบางส่วน : https://www.thai-tour.com
รูปภาพบางส่วนได้นำมาจากเวบไซต์ : https:// www.siamfreestyle.com