หมู่เกาะมัน-จังหวัดระยอง
เกาะมันนอก เป็นเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งในหมู่เกาะมัน ที่ตั้งเรียงกันอยู่ในอ่าวแกลง จ.ระยองตัวเกาะมีลักษณะเกือบกลม และสามารถเดินรอบเกาะ เพื่อชมทิวทัศน์อันสวยงามได้ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ทางด้านหน้าของตัวเกาะ ซึ่งเป็นทิศใต้และทิศตะวันออก จะมีโค้งหาดทรายเล็กๆ และเป็นที่ตั้งของบังกะโล และเรือนอาหาร ที่ เกาะมันนอกนั้น นักท่องเที่ยวสามารถดำน้ำชมความงามของปะการัง ต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ใต้น้ำรอบๆ เกาะมันนอก และเกาะมันนอก อยู่ห่างจาก เกาะเสม็ด เป็นระยะทาง ประมาณ 30 กิโลเมตร
หมู่เกาะมัน เป็นหมู่เกาะ อยู่ในเขตตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง หมู่เกาะมันมีอยู่ 3 เกาะ เกาะที่อยู่ใกล้ฝั่ง มาก ที่สุด คือ เกาะมันใน ถัดไปคือ เกาะมันกลาง และเกาะมันนอก ซึ่งมีแต่คุณหรือกับใครสักคนที่รู้ใจ
…อย่างที่ เกาะมันนอก..ที่..ที่มีแต่ธรรมชาติให้คุณสูดอากาศใสใส มาดูข้อมูลแบบลงลึกของ หมู่เกาะมัน เกาะมันนอก เกาะมันกลาง เกาะมันใน กันดีกว่าครับ
เกาะมันนอก
บนเกาะมันนอก มีรีสอร์ทเพียงรีสอร์มเดียวเท่านั้น คือ Munnork Island Resort
มันนอกไอส์แลนรีสอร์ท
หากมีสักครั้ง ที่คุณคิดจะหลบหนี
ความสับสนวุ่นวาย ไปยังที่ใกล้ๆ….
ซึ่งมีแต่คุณหรือกับใครสักคนที่รู้ใจ …
…..อย่างที่เกาะมันนอก…..
ที่…ที่มีแต่ธรรมชาติ
ให้คุณสูดอากาศใสใส….
แล้วทำแต่สิ่งที่ตามใจ…
…. เมื่อตะวันลับขอบฟ้า
บอกลา..หมู่ดาว..และ..เงาจันทร์
อยากให้เขาคนนี้…
อยู่กับฉันแบบนี้.. น า น : น า น…
อธิษฐาน…
ขอให้กาลเวลา…เป็นใจ.
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เกาะมันใน
เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีพระราชประสงค์ให้เกาะมันในเป็นที่ดำเนินการโครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะมันในมีอ่าวที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวต้นมะขาม อ่าวหินโขดหญ้า อ่าวโกงกาง และอ่าวหน้าบ้าน ซึ่งมีปะการังสวยงาม การเดินทางไปเกาะมันในสามารถเช่าเรือได้ที่แหลมแม่พิมพ์ หรือปากน้ำประแสร์ ติดต่อรายละเอียดที่สถานีเพาะเลี้ยงพันธุ์เต่าทะเล โทร. (038) 616096, 657466
เกาะมันใน มีพื้นที่ประมาณ 131 ไร่ มีอ่าวที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวต้นมะขาม อ่าวหินโขดหญ้า อ่าวโกงกาง และอ่าวหน้าบ้าน โดยเฉพาะที่อ่าวหน้าบ้านมีปะการังที่สวยงาม ส่วนอ่าวโกงกางมีทรายเรียบ เกาะมันในมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่ดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล มีพันธุ์เต่าตนุ และเต่ากระ ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เปิดให้เข้าชม เวลา 8.00–18.00 น.
เกาะมันในอยู่ห่างจากแหลมแม่พิมพ์ 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที สามารถเช่าเรือจากแหลมแม่พิมพ์ หรืออ่าวมะขามป้อมก็ได้ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลตะวันออก เกาะมันใน โทร. 0 3861 6096, 0 3865 7466
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลจาก www.talaythai.com
การอนุรักษ์เต่าทะเลในประเทศไทย
เต่าทะเล ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคูณค่าและประโยชน์มากมายหลายด้านทั้งการอุปโภค บริโภค ส่วนต่างๆนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นทำเครื่องประดับ เครื่องหนัง และด้วยเหตุนี้เองทำให้เต่าทะเลถูกจับนำมาใช้ประโยชน์ จนทำให้เต่าทะเลลดลง และอาจจะสูญพันธุ์ในไม่ช้า ดังนั้น จึงต้องมีการอนุรักษ์ขึ้น
การทำฟาร์มเต่าทะเลได้มีการดำเนินงานมากว่า 70 ปีแล้ว แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร พ.ศ.2514 ได้มีการทดองเลี้ยงเต่าในห้องทดลอง และได้มีการริเริ่มจัดตั้งฟาร์มเต่าทะเลเพื่อการอนุรักษ์ในปี 2522 โดยสมเด็จพระนางเจ้าๆ พระบรมราชินีนาถ ณ สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะมันใน จ. ระยอง
2. สภาพการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลในประเทศไทย
ในประเทศไทย ได้มีการเก็บไข่เต่าทะเลเพื่อการบริโภคมาเป็นเวลานาน ในส่วนของการทำประมงก็มีข้อห้าม โดยประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามความในมาตรา 32(7)แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 วันที่14 เมษายน พ.ศ.2490คุ้มครองเอาไว้ กล่าวคือ ห้ามจับ ดัก ล่อ ทำอันตราย และฆ่าเต่าทะเลทุกชนิดรวมทั้งไข่ของเต่าทะเล ผู้ใดฝ่าฝืนต้องจำคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประเทศไทยก้ยังลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศของสัตว์ป่าและพืชป่าที่กลังจะสูญพันธุ์ (CITES)
3. การควบคุมการใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์จากเต่าทะเล แบ่งออกได้ 3 ประเภท
3.1 การค้า โดยการหามตรการหยุดยั้งการค้าจากผลิตภัณฑ์ที่มาจากเต่าทะเล
3.2 ควรนส่งเสริมให้ชาวทะเลทำประมงที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเต่าทะเล และให้ความรู้ควบคู่กันไป
3.3 การทำฟาร์เต่าทะเล ทั้งทางภาครัฐและเอกชน
4. เต่าทะเลที่ติดอวนขณะทำการประมง
ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญต่อการลดลงของจำนวนเต่าทะเล จะต้องจัดการในเรื่องนี้คือ
4.1 จัดตั้งเขตห้ามทำการประมง
4.2 พัฒนาเครื่องมือและเทคนิคการทำการประมง เพื่อลดการติดมาของเต่าทะเลในการทำประมง
4.3 ควรจัดการพิจารณาปัญหา และจัดการระบียบและข้อบังคับขึ้น
4.4 ควรยุติความพยายามใดที่จะอาศัยการทำการประมงเพื่อจับเต่าทะเลในธรรมชาติ
ในเรื่องของการวิจัยจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในเรื่องต่างๆ ดังนี้
5.1 การสำรวจและประเมิณขนาดจำนวนของเต่าทะเลทุกชนิด
5.2 ความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยา และชีววิทยาการแพร่พันธุ์ของเต่าทะเลทุกชนิด
5.3 เทคนิคในการจัดการ มีสิ่งที่สำคัญคือ การทดสอบมาตรการที่ได้ผลในการเพิ่มจำนวน
6. ยุทธวิธีในการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลก
David Ehrenfeld ได้เสนอวิธีการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลก พร้อมทั้งแผนการปฏิบัติการ และโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลก ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล ณ กรุงวอชิงตัน ระหว่าง 26-30 พฤศจิกายน 2522 ดังนี้
นโยบายอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
1. การป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัย
2. การจัดการทรัพยากรเต่าทะเล
-การให้การศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล กระทำโดยเผยแพร่มาตรการอนุรักษ์ที่ได้ผลให้แต่ละประเทศทราบ เพื่อที่ในแต่ละประเทศจะได้นำไปใช้เป็นนโยบายในการปฏิบัติ
– ควาวมร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
– การใช้ไมโครชิพในการติดตามเต่าทะเล
– เครื่องมิอแยกเต่าทะเลในการทำประมงทะเล เพื่อแยกเต่าทะเลที่จะติดมาในการทำประมง
หากต้องการพักที่เกาะมันนอกรีสอร์ท ติดต่อได้ที่
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.munnorkislandresort.com )
แผนที่เกาะมันนอก เกาะมันกลาง เกาะมัน
ขอขอบคุณเนื้อหาและรูปภาพจากเวบไซต์ต่าง ๆ
แหล่งที่มาบางส่วน : https://www.thai-tour.com
รูปภาพบางส่วนได้นำมาจากเวบไซต์ : https:// www.siamfreestyle.com