บทนำ เมื่อต้นเดือน 12 ปี 2015 ผมรู้สึกว่าหน้าหนาวนี้ อยากจะไปรับลมหนาวสักหน่อย แต่ก็ไม่ชอบฝูงชน ที่ต้องไปแย่งกันเที่ยว แย่งกันกิน เพราะกำหนด วันที่จะไปคือ ช่วงวันคริสต์มาส เราเลยต้องหาเส้นทางที่คนไม่คิดถึง หรือไม่นิยมกันเลย ผลที่ได้ก็ออกมาเป็นแบบตามรีวิวด้านล่างละครับ มีทั้งวัดวาอาราม ประวัติศาสตร์ และ ธรรมชาติ

เช้าวันที่ 24/12/2015 ณ เวลา 7.30 น.ล้อรถก็ได้เริ่มหมุนออกจาก ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต จุดหมายแรกของเราจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นั่นก็คือ ไหว้พระ (แป่ว!) ผมเลยเล็งๆ วัดที่คนบอกว่าสวย และ เป็นเส้นทางผ่านที่ผมนึกไว้ เพราะจุดหมายของเราในวันนี้ก็คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เหตุผลที่เลือกนั้น เพราะชาวต่างชาติชื่นชมในความงามของสถานที่นี้มา อนิจจา คนไทยไม่ค่อยรู้ และ แวะเวียนไป…..อะเค นอกเรื่องไปนาน จุดหมายแรกของเราก็คือ พระนั่งที่ใหญ่ที่สุดวัดม่วง จ.อ่างทอง คร้าบบบบบ!

วัดม่วง หากได้มาเที่ยวที่จังหวัดอ่างทอง แล้ว ไม่ได้แวะเวียนไปที่อำเภอวิเศษชัยชาญ เพื่อสักการะ “หลวงพ่อใหญ่” ที่ “วัดม่วง” อาจ พูดได้ไม่เต็มปากว่าได้มาเยือนอ่างทองแล้ว เพราะที่แห่งนี้จัดได้ว่าเป็นแลนด์มากร์กที่สำคัญของจังหวัดเลยทีเดียว ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของเราในการออกเดินทางมายังจังหวัดอ่างทองในครั้ง นี้ก็คือ การมาเห็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ วัดม่วงนั่นเอง
คำกล่าวด้านบนและด้านล่างนี้ ผมไม่ได้พูด ! 哈哈哈
สำหรับความเป็นมาของวัดม่วง นั้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในสมัยนั้นเมืองวิเศษชัยชาญเคยเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความเจริญ รุ่งเรืองมาก หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงวัดวาอาราม และพระพุทธรูปจำนวนมาก็ถูกเผาจนเหลือแต่ซากปรักหักพัง ซึ่งวัดม่วงก็ถูกปล่อยให้รกร้างแต่นั้นมา จนเมื่อปี พ.ศ.2525 หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ได้ธุดงค์มาปักกรดบริเวณนี้ ตามนิมิตที่นิมนต์ให้ท่านมาบูรณะวัดม่วงขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และในปี พ.ศ.2534 หลวงพ่อเกษมฯ ได้วางศิลาฤกษ์เพื่อก่อสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีหน้าตักกว้าง 63 เมตร สูง 95 เมตร โดยให้พระนามอย่างเป็นทางการว่า “พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” แต่เช้าบ้างมักเรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อใหญ่” มากกว่า ซึ่งก่อนที่หลวงพ่อเกษมฯ จะมรณะภาพลง ท่านได้สั่งเสียศิษยานุศิษย์ให้ดำเนินการสร้างให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นพระมหากุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งการก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงในปีพ.ศ.2550 รวมเวลาในการสร้างทั้งหมด 16 ปี ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 131 ล้านบาท จากเงินบริจาคด้วยจิตศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งสิ้น

ถ้ายังไม่รู้ว่าใหญ่แค่นั้น เราลองมาเทียบกับคนดูนะครับ
![]() |
![]() |

และหลังจากเราไหว้พระจนอิ่มเอมใจแล้ว ก็ได้เดินทางต่อไปจุดหมายหน้าวัดอีกแล้วครับ

เนื่องจากเวลายังเหลือเยอะ วันนี้ตามแผนเดิมเราจึงแวะที่วัดพระนอนอีกที่นึงกันครับ ที่จังหวัดสิงห์บุรีเลยครับ ทางผ่านก่อนไปสุโขทัยพอดี
วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร พระนอนจักรสีห์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสิงห์บุรี และได้ชื่อว่าเป็นพระนอนองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ(เมื่อคำนวณทางปริมาตร) เมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จมานมัสการพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า พระนอนจักรสีห์เป็นปูชนียวัตถุที่ทรงไว้ซึ่งปาฏิหาริย์ล้ำค่า เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

ความรู้สึกที่เห็นแว๊บแรก คือ มันหย่ายมาก!

![]() |
![]() |
ปัจจุบันมีพระนอนสององค์นะครับ องค์เล็ก(ซ้าย) และ องค์ใหญ่(ขวา)

และแล้วทริปไล่ควายเราก็บังเกิด เพราะว่ากลัวจะไปไม่ทันแล้วสิครับ มีเวลา 3 ชั่วโมงกับ อีก 300 กม. เพราะเราจะค่อยๆ ไปปลอดภัยไว้ก่อน สู้ๆ ต่อจากนี้เราก็ไม่มีแวะไหนกันแล้ว
และแล้วเราก็ รีบเร่งเดินทางเพราะเราขับกันไม่เกิน 100 กม./ชม.ครับ ปลอดภัยไว้ก่อน ขณะที่ออกจากวัดเวลา 13.00 น. แล้ว เราเดินทางผ่าน จังหวัดนครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวา ผ่านพิจิตร แล้ว มุ่งเข้าสู่จังหวัดสุโขทัย ไปยัง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง กันนะครับ เราถึง อุทยานประวัติศาสตร์ก็เวลาล่วงเลยไปถึง 16.30 น.แล้วที่พักแถวนั้น ดีๆราคาถูกเยอะมากๆครับ ไม่จำเป็นต้องจองผ่าน Agoda ก็ได้ครับถ้าไม่ใช่ช่วงไฮซีซั่น ที่พักของเราคือ Old City Guest House ราคาห้องแอร์ธรรมดา คืนละ 500 บาทเอง ตั้่งอยู่หน้าอุทยานเลยครับ

ในวันที่เราไปถึง พอเวลา 18.00 น.เขาก็จะเริ่มปิดแล้วไม่ให้เช่า มอเตอร์ไซด์ หรือ จักรยานกันแล้ว มีคนพูดแว่วมาว่า ช่วงก่อนที่เราจะมามีคดีอะไรเกิดขึ้นสักอย่าง ทำเราดูโหวงเหวงไปนิดหน่อยเลยครับ
![]() |
![]() |
ออกตัวไว้ก่อนเลยนะครับสถานที่ต่างๆ ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ผมไม่รู้จริงๆ ว่าอะไรเป็นอะไรบ้าง
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า)โบราณสถานในอุทยาน มีด้วยกันมากมาย อาทิเช่น
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช วัดมหาธาตุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง วัดตระพังเงิน วัดศรีสวาย วัดตระพังทอง วัดสระศรี วัดชนะสงคราม วัดตระกวนศาลตาผาแดง วัดพระพายหลวง เตาทุเรียงสุโขทัย วัดสังฆวาส วัดศรีชุม วัดช้างล้อม วัดตระพังทองหลาง วัดเจดีย์สูง วัดก้อนแลง วัดต้นจันทร์ วัดเชตุพน วัดเจดีย์สี่ห้อง วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม วัดวิหารทอง วัดอโสการาม วัดมุมลังกา ฯลฯ

![]() |
![]() |
บางทีผมก็คิดนะครับ ว่าคนไทยชอบไปดูโบราณสถานของต่างชาติ ของบ้านเราดูกันแล้วรึยัง !

![]() |
![]() |
เป็นสถานที่ ที่หลายๆคนไม่เคยคิดจะแวะมา แต่ก็น่าสนใจไม่เบาเลยใช่มั้ยครับ


วันแรกของการเดินทางก็ได้สิ้นสุดลง อาหารต้องรีบซื้อกินนะครับ ปิดกันไวมากมาย
จุดหมายต่อไปของเราในวันที่สองของการเดินทาง “อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า”
- รีวิว :: เส้นทางที่ถูกลืม(24-26/12/2015) Part2:ภูหินร่องกล้า-ลานหินปุ่ม-ลานหินแตก
- รีวิว :: เส้นทางที่ถูกลืม(24-26/12/2015) Part3:เขาค้อ-ทุ่งทานตะวันวัดเขาจีนแล