ทริปเดินทาง

รีวิว :: ต้าซิ่งอันหลิง/ฮูลันบูเออร์(8-18/9/2018)ตอนที่1:มหาทุ่งหญ้าฮูลันบูเออร์(呼伦贝尔大草原)-พื้นที่ชุ่มน้ำเอ๋อเอ่อกู้น่า(额尔古纳湿地)

ฮูลันบูเออร์ ต้าซิ่งอันหลิง ฮาร์บิน ทุ่งหญ้าฮูลันบูเออร์ เอ๋อเอ่อกู้น่า หม่านกุย เป่ยจี๋ชุน

呼伦贝尔大草原 มหาทุ่งหญ้าฮูลันบูเออร์ สถานที่แห่งนี้การจะเดินทางไปนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ มันออกจะเหนื่อยมาก เพราะอาจต้องต่อเครื่องบินถึง 3 ต่อด้วยกันเลย จนทำให้ตัวแอดมินดองเค็มไม่ว่างมาเขียนรีวิว จนเวลาผ่านมาหลายเดือน อาจจะลืมๆ มึนๆ ไปบ้างก็จะพยายามมาเขียนบอกเล่ากันนะครับ


โดยกว่ากลุ่มแอดมินจะเดินทางไปถึง ก็ต้องไปแวะพักที่ เมืองฮาร์บิน และ พักบริเวณ “ถนนคนเดินจงหยางต้าเจีย-中央大街” กันก่อนนะครับ ซึ่งรอบนี้ได้แวะเปลี่ยนเครื่องที่เมืองกว่างโจวกันก่อน 1 รอบครับ

ที่พักบริเวณหน้าปากทางถนนจงยาง คนเดินก็จะพลุกพล่านไปสักนิด

และวันนี้ดวงดีมากๆครับ มาถึงโบสถ์เซนต์โซเฟียปิดซ่อม T-T

ช่วงหัวค่ำถนนที่นี่ก็จะเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงครับ
มีการแสดงดนตรีของชาวลูกผสม หรือ ชาวรัสเซีย อยู่ตลอดทาง

แต่เราก็ต้องรีบนอนเพราะพรุ่งนี้ ต้องออกเดินทางตั้งแต่เวลา 3.00 น.


ในวันต่อมา วันที่ 2 ของการเดินทาง ก็เหนื่อยแต่เช้า เราต้องไปถึงสนามบินตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่เริ่มขึ้นกันเลยครับ เพื่อที่จะเดินทางไปพื้นที่ด้านบนสุดของประเทศจีน แต่ยังไม่ใช่จุดเหนือสุด ซึ่งก็คือ “เมืองฮูลันบูเออร์-呼伦贝尔市”

มาดูพระอาทิตย์ขึ้นที่สนามบินกันจ๊ะ

บอกตรงๆเลยครับ การเดินทางไปกลับนี่เหนื่อยมากๆ

สถานที่แรกที่เราจะไปในวันก็คือ “ร้านอาหาร” มะมะมะช่ายยยย พอกินข้าวเสร็จแล้ว ก็ออกเดินทางไปเรื่อยๆครับ แบบมาเซอร์เวย์ชัดๆ สถานที่แรกที่เราผ่านไปก็คือ “ลำคลองโม่รื่อเก๋อฉิน-莫日格勤河” (มันจะเป็นภาษามองโกเลียนิดๆ อ่านยากๆสักหน่อยนะครับ) เขาว่าเป็นลำคลองอันดับ 1 ในแผ่นดิน (น่าจะอยู่บนสุดครับ) และพี่แกก็เล่นสนุก มีแม่น้ำอันดับ 1 ธารน้ำห่าเหวอันดับ 1 เต็มไปหมด อย่าไปใส่ใจมากครับ ปล.ควรพกโดรนมาถ่ายภาพครับ ไม่ห้ามจุกจิกเหมือนเมืองไทย สบายใจได้

มุมพื้นราบ ภาพก็จะราบๆ
ดูไปเพลินๆ ครับ
ใกล้ๆ มีคนไปสร้างกระโจมที่พักด้วยครับ
ท้องฟ้าสีสวยสดใสงดงาม

และใกล้ๆ ก็จะมี “เมืองเอ๋อเอ่อกู้น่า-额尔古纳市” ซึ่งจะมีพื้นที่ชุ่มน้ำเอ๋อเอ่อกู้น่า (ทำไมชื่อมันเรียกยากจังฟะ) ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (คือหนองคลองบึงในป่า) ที่คนเแถวนี้บอกว่า(ตู่ไปเอง) ว่าสวย ของแบบนี้ต้องไปดูด้วยตาตัวเองนะครับ ส่วนเรื่องบัตรผ่าน แอดมินขอสงวนไม่บอกราคานะครับ (จำไม่ได้จริงๆและ)

เริ่มขึ้นเนิน

มีรถขึ้นเนินนะครับ เสียเงินนิดๆ ยอมๆไปเหอะครับ

ควรใช้โดรนบินถ่ายวิดีโอเก็บไว้เท่ๆนะครับ

ขาวๆ ด้านหลังสุด นั่นเป็นฝูงแมลงนะฮะ โหดโครต

เดินไปเรื่อยๆ ทางเดินยาวนะครับ วนเป็นวงกลม
บางจุดถ่ายมุมปกติก็สวยดีนะครับ
วนไปเรื่อยๆ
มุมโพสท่าถ่ายภาพครับ
จุดสำคัญ ในการถ่ายภาพครับ ภาพนี้เรียก “โค้งเกือกม้า

จุดพีคสุดๆ คนมาแย่งกันถ่ายก็จุดนี้ละครับ

จุดพักผ่อนนักท่องเที่ยว
แนวทุ่งหญ้าที่สูงท่วมหัว

ลาก่อย! นะ! “พื้นที่ชุ่มน้ำเอ๋อเอ่อกู้น่า” บะบาย


ในวันที่ 3 ของการเดินทาง ตื่นเช้ามาก่อนเดินทางไกลสุดๆ เพื่อไปยัง หมู่บ้านทางตอนเหนือสุดของประเทศจีนบริเวณที่เรียกว่า “เป่ยจี๋ชุน-北极村” เราก็จะมาแวะ “หมู่บ้านของชาวเอ้าหลู่กู้หย่า-敖鲁古雅” ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยลูกผสมสองชนชาติ วิถีชีวิตคือเลี้ยงสัตว์บนแนวป่าเขา

เลี้ยงตัวแบบนี้ครับ
กวางเรนเดียร์ราคาบางตัวเหยียบแสนบาทครับ

หลังจากช่วงเช้า ทั้งวันเราก็นั่งรถมาราธอน บนถนนเน่าๆ กันไปเรื่อยๆ ครับ

ประตูสู่เขตเหนือสุด “ประตูหม่านกุย”

ระหว่างเขตบนสุดของประเทศจีนก็จะโล่งๆ สบายตาไปเป็นแนวยาวๆ เลยครับ

โล่ง กว่าถนนชนบทบ้านเราครับ แต่พังๆ ทั้งนั้นเลย
ไม่ขอออกความเห็นนะครับภาพนี้

เนื้อหาในวันที่ 4 จะไม่ได้เขียนนะครับ มันเป็นวันที่ฝนตกทั้งวัน เราก็อยู่กันบริเวณหมู่บ้านเป่ยจี๋ ครับ เขตชายแดน จีน-รัสเซีย มีแค่แม่น้ำเฮยหลงเจียงกั้นไว้ ภาพจะถ่ายไว้บน iphone แต่เผอิญดองจนเปลี่ยนเครื่องใหม่ภาพก็เคลียไปเรียบร้อย อยากรู้เป็นอย่างไรให้ลองไปดูครับ


วันที่ 5 ของการเดินทาง ก็คือการนั่งรถกลับไปยังบริเวณ ตอนล่างของ “ต้าซิ่งอันหลิง” นั้นเองครับ ระยะทางก็ไม่ใช่เด็กๆ อีกเช่นเคย เหนื่อยเกินครับ ระหว่างทางก็จะผ่านอุทยานป่า “โม่เอ๋อเต้ากา” และมุ่งไปยังเมือง “ซื่อเหวย-室韦” ซึ่งเป็นเมืองชายแดนอีกเช่นเคย นั่นเองครับ

วิวระหว่างทางพอให้หายเหนื่อยไปได้บ้าง
พอเราจอดรถ คนจีนก็จอดตาม
บางจุดก็จอดนานครับ วิวระหว่างทางสวยกว่าในอุทยานอีกครับ
วิววันนี้ก็แนวๆนี้ครับ ดูป่าเปลี่ยนสีจนเอียนไปเลย
ป่า ป่า ป่า ป่า ป่าไม้

และช่วงเย็นๆ จะเป็นวิวป่าของ “อุทยานโม่เอ๋อเต้ากา” กันละครับ มันก็จะเดิมๆ

คล้ายๆ ป่าแถวภาคเหนือของไทยนะครับ
พระอาทิตย์ตกที่ “โม่เอ๋อเต้ากา”
ได้เวลาเดินทางต่อไปพักผ่อนกันที่ “ซื่อเวย” ล่ะครับ

ดาวสวยนะครับ แต่คนถ่ายฝีมือยังไม่ถึง


Exit mobile version