นี่น่าจะเป็นเวลาที่ยอดเยี่ยมในการทดลองถ่ายภาพเหล่าบรรดาใยแมงมุมที่พบเห็น ได้ทั่วไปบริเวณสวน หลังบ้านหรือในห้องเก็บของรวมถึงบริเวณผืนป่ารอบๆ บ้านของคุณ ซึ่งนี่ไม่เพียงแต่คุณจะได้ตัวแบบอันงดงามของกลุ่มใยทรงกลมที่น่าทึ่งแล้ว แมงมุมตัวเมียยังแขวนตัวเองอย่างในบริเวณใจกลางใยของมันอย่างเฉยเมย ทำให้เป็นโอกาสอันสมบูรณ์แบบ ในการบันทึกภาพของพวกมันได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่คุณต้องการเริ่มต้นก็คือ ขาตั้งกล้องและเลนส์มาโครหรือเลนส์เทเลโฟโต้บวกกับ ข้อต่อเลนส์ (extension tube) หรือไม่ก็เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ที่สามารถถ่ายภาพโคลสอัพได้ สิ่งที่ท้าทายที่สุดในการถ่ายภาพเช่นนี้ก็คือการรับมือกับช่วงความชัดลึกที่ตื้นมาก ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อถ่ายภาพแบบโคลสอัพและ กับความจริงที่ว่าแม้แต่เพียงลมหายใจเบาๆ ของคุณก็สามารถทำให้แมงมุมนั้นหลุดโฟกัสไปได้
วิธีการ… ถ่ายภาพใยแมงมุม
ได้เวลาบันทึกภาพสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่งกันได้แล้ว
1. ถ่ายภาพทดสอบ
ให้วางตำแหน่งของขาตั้งกล้องอย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายโครงสร้างของใยแมงมุมที่คุณจะถ่าย จากนั้นทดลองถ่ายภาพ โดยการเช็คค่าเปิดรับแสงผ่านทางตารางฮิสโตแกรมด้วยค่า ISO ที่ 100 และช่องรับแสงขนาด f/3.3 ช่วงความชัดลึกนั้นตื้นมากเกินไป ทำให้ใยแมงมุมไม่คมชัดทั้งหมด ฉากหลังและตัวแมงมุมที่ถูกวางไว้ตรงกลางภาพก็ยังดูไม่น่าพอใจ

2. ปรับแต่งความชัดลึก
ถ่ายภาพให้ทำมุมขนานกับใยแมงมุมและเปลี่ยนช่องรับแสงเป็น f/7.1 ช่วยเพิ่มช่วงความชัดลึกในขณะที่ฉากหลังในภาพยังคงหยุดโฟกัสอยู่ ในการจะหลีกเลี่ยงภาพเบลอจากการสั่นไหวเราได้เพิ่มค่า ISO ให้สูงขึ้น

3. ปรับแต่งองค์ประกอบภาพ
ทดลองปรับเปลี่ยนองค์ประกอบภาพใหม่ให้ดูดีขึ้น โดยการจัดกรอบภาพใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงแสงจ้าในฉากหลัง ทำให้เราสามารถสร้างภาพที่มีพลังมากขึ้นได้ด้วย ภาพภาพเดียวกันที่แตกต่างจากการขยับตำแหน่งองค์ประกอบภาพใหม่

4. ปรับโฟกัสแบบแมนวล
ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงความยากในการบันทึกภาพในลักษณะนี้ เพราะกระแสลมที่พัดมาโดนทำให้การใช้ระบบโฟกัสแบบอัตโนมัติเพื่อถ่ายภาพนั้นเป็นไปไม่ได้ การปรับระบบโฟกัสมาเป็นแบบแมนวลจะทำให้การปรับโฟกัสทำได้รวดเร็วและถูกต้องมากกว่า

5. ใช้แฟลชเสริมแสง
ด้วยแสงอาทิตย์ที่ส่องมาทางด้านข้างของตัวแมงมุม ฉันจึงคิดว่าการใช้แฟลชเสริมแสง (fill-flash) น่าจะช่วยทำให้ภาพดูมีมิติและใยแมงมุมดูโดดเด่นมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้แสงแฟลชสว่างมากเกินไป เราจึงต้องลดค่าความเข้มของแฟลชลงเสียก่อน

6. แสงสว่างจากด้านหลัง
หลังจากที่ได้ดีใจกับภาพแฟลชของเราไปแล้ว ทำให้เราอยากลองใช้แสงจากดวงอาทิตย์ โดยเปลี่ยนตำแหน่งกล้องไปทางด้านตรงข้าม ตอนนี้จึงได้ภาพของใยแมงมุมที่ย้อนแสง อย่างสวยงามแต่โชคไม่ดีที่วิธีนี้ก่อให้เกิดแสงฟุ้งกระจายเต็มไปหมดทั้งภาพ

7. รับมือกับแสงฟุ้ง
คำตอบก็คือการมองหาวัตถุมาบังแสงโดยถือเอาไว้เหนือเลนส์ถ่ายภาพและ ตรวจสอบดูในช่องมองภาพหรือจอ LCD ว่าแสงฟุ้งที่เกิดขึ้นนั้นหมดไปหรือยัง

8. องค์ประกอบภาพแบบนามธรรม
ด้วยการถ่ายภาพในมุมมองที่น่าสนใจหรือ การเลื่อนเข้าใกล้กับตัวแบบให้มากที่สุด คุณสามารถสร้างสรรค์งานในแนวนามธรรม (abstract studies) ได้โดยไม่ยากให้ระวังช่วงความคมชัดที่ตื้นมากทำให้ การปรับโฟกัสที่ถูกต้องนั้นยากกว่าปกติหลายเท่า
ที่มา : https://technology.msnth2.com |