5 Shoot it now! สีสันในยามราตรี

2871

5 Shoot it now! สีสันในยามราตรี


มันเป็นช่วงเวลาพิเศษสุดของวันของการเก็บภาพในสภาพแสงต่ำที่มีสีสันสดใส ดังที่ Marcus Hawkins จะมาแนะนำ…

เทคนิคการถ่ายภาพ, การถ่ายภาพ, ภาพวิว, ภาพเคลื่อนไหว, รูปภาพ, ภาพ

  ค่ำคืนอันยาวนานไม่จำเป็นต้องทำให้ความเร็วใน การถ่ายภาพของคุณต้องช้าลงไป การมองหาโอกาสทาง การถ่ายภาพยามค่ำคืน ที่มีสีสันสวยงาม จากการประดับตกแต่งดวงไฟหรือ สวนสนุกเคลื่อนที่ที่มีให้เห็นทั่วไปจึงเป็นอีกโอกาสที่เหมาะ ในการเก็บภาพสีสันอันน่าตื่นตาตัดกันกับท้องฟ้าสีมืดมิด

หนึ่งในเทคนิคที่ทรงประสิทธิภาพและ คุ้นเคยกันมากที่สุดสำหรับการเก็บบรรยากาศของงานแสดงไฟหรือสวนสนุกก็คือ การผสมผสานกันระหว่างการเปิดรับแสงที่ยาวนานและ การเคลื่อนที่ของตัวแบบเพื่อสร้างแนวของสีแบบแอ็บสแทร็คท์ ให้รวมเอาตัวแบบที่อยู่นิ่งมาไว้ในภาพเดียวกันเพื่อให้เกิดคอนทราสต์และให้ภาพมีความน่าสนใจ โดยธรรมชาติแล้ว คุณจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง (หรือ monopod ที่วางไว้อย่างมั่นคง) เพื่อทำให้ภาพซึ่ง ใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำนั้นมีความคมชัดถูกที่ถูกทาง ดูให้แน่ใจว่าคุณได้จัดตำแหน่งให้ขาตั้งกล้องของคุณนั้นออกห่างจากย่านที่จอแจด้วย คนที่เดินผ่านไปผ่านมาสามารถจะชนกล้องของคุณให้ล้มลงไป อย่างง่ายดายในขณะที่ถ่ายรูปอยู่ได้ทุกเมื่อ

คุณต้องทดลองที่ความไวชัตเตอร์ต่างๆ กันเนื่องจากการเคลื่อนที่ของเส้นแสงนั้น สามารถจะมีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก เริ่มต้นที่ 1/15 วินาทีก่อน เช็คดูภาพแล้วลดเวลาของค่าการเปิดรับแสงลงถ้าหากจำเป็น ถ่ายภาพที่ความไวต่างๆ กันเพื่อคุณเองจะได้มีทางเลือกมากพอในภายหลัง

เบื้องหลังภาพถ่าย
เพื่อให้ได้ภาพเบลอแบบเคลื่อนไหว (motion blur) แบบนี้ คุณต้องมีฐานที่มั่นคงสำหรับกล้องรวมถึงความไวชัตเตอร์ที่ต่ำด้วย ซูมเข้าไปที่บริเวณของแสงในภาพ เพื่อวัดแสงในแบบเฉลี่ยหนักกลาง แล้วให้ล็อกค่าแสงเอาไว้ เนื่องจากค่าแสงในภาพเช่นนี้มักจะหลอกเครื่องวัดแสงในตัวกล้อง เลนส์มุมกว้างและ มุมกล้องที่น่าสนใจจะยิ่งช่วยเพิ่มอารมณ์ให้กับภาพ

Shoot it now! งานแสดงพลุที่สุดยอด

สิ่งที่ท้าทายที่สุดในการถ่ายภาพงานแสดงพลุนั้นจะมาในรูปของการจัดองค์ประกอบภาพแทนที่ จะเป็นเรื่องของการเปิดรับแสง และก็เช่นเคย การวางแผนล่วงหน้าถือเป็นกุญแจสำคัญ ไปถึงสถานที่เสียแต่เนิ่นๆ แล้วให้ลองพูดคุยกับผู้จัดงานโดยสัญญาว่าจะให้ภาพบางภาพฟรีๆ เพื่อแลกกับการที่จะทราบถึงสถานที่และเวลาที่จะมีการจุดพลุ รวมถึงความสูงที่พลุจะแตกออก เลือกหาทำเลในการถ่ายภาพที่อยู่ห่างออกมาซึ่งคุณสามารถจะถ่ายภาพพลุได้จากมุมที่ ‘มีระดับเดียวกัน’ แทนที่จะต้องเล็งกล้องของคุณทำมุมสูงขึ้น ดูให้แน่ใจว่าคุณได้จัดวางขาตั้งกล้องไว้ โดยหลีกเลี่ยงจากแสงไฟตามท้องถนนหรือคนที่จะเดินเข้ามาในภาพ และที่สำคัญที่สุดก็คือคนที่จะเดินเข้ามาหาคุณรวมถึงอุปกรณ์ของคุณด้วย ใส่เลนส์เทเลซูมแบบปานกลางเพื่อช่วยให้ตัวคุณมีปฏิกิริยาตอบสนอง อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนการแสดง

เทคนิคการถ่ายภาพ, การถ่ายภาพ, ภาพวิว, ภาพเคลื่อนไหว, รูปภาพ, ภาพ

จัดให้กล้องของคุณอยู่ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง และถ่ายภาพต่อไปเมื่อเกิดแอ็คชั่นขึ้น กรณีที่คุณต้องการจะบันทึกภาพแบบนี้ เวลายังเป็นเรื่องที่สำคัญ แม้ว่าจะเป็นการเปิดรับแสงที่ยาวก็ตาม และอย่ากลัวที่จะต้องตัดส่วนภาพ เพื่อบีบองค์ประกอบภาพในภายหลังด้วย


5 วิธีให้ได้ภาพถ่ายพลุที่ยอดเยี่ยม

วิธีเก็บภาพการแสดงทางอากาศเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุดในแบบมืออาชีพ

เทคนิคการถ่ายภาพ, การถ่ายภาพ, ภาพวิว, ภาพเคลื่อนไหว, รูปภาพ, ภาพเตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับการแสดง

นำเอาเมมโมรี่การ์ดเปล่าๆ ไปให้มากพอ รวมถึงชาร์จแบตเตอรี่ด้วย นี่ถือเป็นเวลาที่ดีในการลงทุนซื้อมันติดตัวไว้สำหรับกล้องของคุณ เนื่องจากค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานทำให้มันต้องการพลังงานมากขึ้น ดูให้แน่ใจว่าคุณได้ติดเอาไฟฉายเล็กๆ ไปด้วย มันมีค่ามากในการช่วยคุณปรับตั้งค่าของกล้องได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นประโยชน์ในการหาฝาครอบเลนส์ที่ตกอยู่ด้วย!

เทคนิคการถ่ายภาพ, การถ่ายภาพ, ภาพวิว, ภาพเคลื่อนไหว, รูปภาพ, ภาพตั้งกล้องให้มั่นคงและปรับโฟกัสเตรียมไว้ก่อน

ตั้งกล้องของคุณไว้บนขาตั้งกล้องที่มั่นคง คุณจะมีการเปิดรับแสงที่ยาว ใช้รีโมทคอนโทรลในการกดชัตเตอร์เพื่อความแน่ใจว่า จะได้ไม่ทำให้กล้องสั่นหรือเลือกออปชั่นตั้งเวลาอัตโนมัติ (self-timer) ที่สั้นที่สุดที่มีอยู่ในกล้องของคุณก็ได้ สลับไปใช้โฟกัสแบบแมนวลและตั้งโฟกัสไปที่ ระยะอินฟินิตี้ คุณไม่จำเป็นต้องปรับตัวนี้ขณะที่มีการแสดงอยู่เลย

เทคนิคการถ่ายภาพ, การถ่ายภาพ, ภาพวิว, ภาพเคลื่อนไหว, รูปภาพ, ภาพเลือกค่าเปิดรับแสงให้ถูกต้องเสียตั้งแต่เริ่มต้น

อย่าพึ่งใช้กล้องของคุณในการตั้งค่าเปิดรับแสงให้ออกมาถูกต้อง การผสมสานกันระหว่างท้องฟ้าสีมืดและ งานแสดงพลุที่สว่างไสวอาจทำให้ โหมดเปิดรับแสงอัตโนมัตินั้นงงงวยไปได้ แทนที่จะทำอย่างนั้น ให้เลือกโหมดแมนวลโดยตั้ง ISO ไว้ที่ 100 และหน้ากล้องอยู่ระหว่าง f/8 และ f/16 หากคุณเลือกใช้ ISO 200 ให้ตั้งหน้ากล้องอยู่ระหว่าง f/11 และ f/22

เทคนิคการถ่ายภาพ, การถ่ายภาพ, ภาพวิว, ภาพเคลื่อนไหว, รูปภาพ, ภาพทดลองกับความไวชัตเตอร์

ในการถ่ายภาพงานแสดงพลุนั้น มันไม่มีความไวชัตเตอร์ที่ดีที่สุดหรอก เราได้เห็นภาพที่ประสบความสำเร็จซึ่งถ่ายมาด้วยความไว 1 วินาที 30 วินาที หรือเกินกว่านั้นอีก เริ่มต้นด้วยค่าเปิดรับแสงที่ 5-10 วินาที และปรับมันให้เหมาะสมหลังจากที่คุณได้เช็คกับจอ LCD แล้ว ใช้การตั้งค่า Bulb (B) ของกล้องคุณแล้วเปิดชัตเตอร์ไว้สำหรับเปิดรับแสงที่ยาวนานกว่า 30 วินาที

เทคนิคการถ่ายภาพ, การถ่ายภาพ, ภาพวิว, ภาพเคลื่อนไหว, รูปภาพ, ภาพทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม

เวลาที่ถ่ายภาพงานแสดงพลุ เราขอแนะนำให้ถ่ายด้วยไฟล์ RAW มากกว่า jpeg เนื่องจากด้วยการ ประมวลผลภาพอย่างระมัดระวัง (รวมถึงเลนส์ที่ดี) จะช่วยให้คุณได้ภาพที่มีคุณภาพดีที่สุดจากกล้องของคุณ การที่ไวท์บาลานซ์ไม่ถูกต้องนั้นสามารถปรับให้ถูกต้องได้และ ค่าเปิดรับแสงก็สามารถปรับแต่งได้เช่นกันเพื่อให้ได้ภาพท้องฟ้ามืดมิดที่สวยงาม และพลุที่แตกออกเต็มไปด้วยสีสันอันงดงาม

ที่มา : https://technology.msnth2.com