ชนิดของกล้องและระบบของกล้อง

11618

ชนิดของกล้องและระบบของกล้อง


มาต่อกันเรื่องขนาดของภาพกันอีกนิด แต่เป็นเรื่องของสัดส่วนของภาพ

สัดส่วนของภาพที่อัดกระดาษออกมาตามมาตรฐาน คือ 4×6 นิ้ว ซึ่งเท่ากับว่าภาพมีสัดส่วน 1:1.5 กล้องดิจิตอลระดับมือสมัครเล่นจะมีสัดส่วนภาพอยู่ประมาณ 1600×1200 pixels หรือ 1:1.33 เพื่อให้เข้ากับจอมอนิเตอร์หรือ TV ทำให้เวลานำภาพไปอัดจึงต้องตัดส่วนภาพบนกระดาษไป ส่วนกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพ(จำพวก DSLR) จะมีสัดส่วนประมาณ 1:1.5 ซึ่งเท่ากับฟิล์มขนาด 35 มม.เวลานำไปอัดจึงไม่เป็นปัญหา

พูดถึงระดับของกล้องดิจิตอล ก็แบ่งเป็น 3 ระดับคือ

1.Compact – เป็นกล้องที่เน้นไปทาง สะดวกสบาย พกง่าย ถ่ายง่าย เรียกว่าอัตโนมัติแทบจะทั้งหมด แต่ปรับอะไรไม่ค่อยได้

ชนิดของกล้องและระบบของกล้อง, กล้องดิจิตอล, กล้อง, กล้องถ่ายรูป, ราคากล้องดิจิตอล, กล้องมือสอง, กล้องถ่ายรูปดิจิตอล, กล้อง digital

2.Prosumer – เป็นกล้องที่ระบบการทำงานดีขึ้นมาหน่อย เช่น มีระบบวัดแสง ชดเชยแสง ปรับความชัดผ่านเลนส์ ระบบ Manual การต่อ Flash ภายนอก ซึ่งทำให้ยืดหยุ่นต่อการใช้งานมากขึ้น แต่ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้

ชนิดของกล้องและระบบของกล้อง, กล้องดิจิตอล, กล้อง, กล้องถ่ายรูป, ราคากล้องดิจิตอล, กล้องมือสอง, กล้องถ่ายรูปดิจิตอล, กล้อง digital

3.Professional – เป็นกล้องระดับมืออาชีพที่คล้ายกับกล้อง SLR ในระบบฟิล์ม แต่เปลี่ยนจากการใช้ฟิล์มมาเป็นการใช้เซ็นเซอร์รับแสง ซึ่งระบบการทำงานสามารถปรับได้ทั้งหมดตามความสามารถของผู้ถ่าย(กล้องดีคนถ่ายไม่เก่ง เอากล้อง compact ถ่ายออกมาก็อาจจะดีกว่าก็ได้นะ)

ชนิดของกล้องและระบบของกล้อง, กล้องดิจิตอล, กล้อง, กล้องถ่ายรูป, ราคากล้องดิจิตอล, กล้องมือสอง, กล้องถ่ายรูปดิจิตอล, กล้อง digital

ต่อจากชนิดของกล้องก็จะมาว่ากันต่อเรื่องระบบการใช้งานภายในกล้องดีกว่า เรียงไปเป็นข้อๆ เลยแล้วกัน

1.ระบบจัดเก็บไฟล์รูป

โดยทั่วไปก็จะมีอยู่ 2 ชนิด ที่นิยม คือ JPEG , CCD-RAW (ส่วน TIFF จะไม่ขอพูดถึง เพราะไม่ค่อยมีคนใช้ และส่วนตัวไม่รู้ด้วย แหะๆ)

– JPEG ก็คือไฟล์รูปที่ถ่ายออกมาแล้วสำเร็จรูปเลย สามารถนำไปใช้ได้ทันที ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อย แต่ก็เอามาปรับแต่งอะไรไม่ได้มากนัก

– CCD-RAW เป็นไฟล์ของภาพที่เหมือนกับข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้รับการปรุงแต่งและบีบอัดใดๆ เลย ซึ่งการจะนำไปใช้ จำเป็นต้องใช้ Software ของกล้องแต่ละตัว หรือใช้ Photoshop ที่ติด Plugins ที่สำหรับอ่านไฟล์ของกล้องนั้นๆ

2.ระบบปรับความชัดโฟกัส

โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 แบบ คือ

– ปรับเอง

– ปรับความชัดทีละภาพ (Single Auto Focus , AF-S) คือ ระบบปรับความชัดที่เมื่อเรากดปุ่มล๊อคโฟกัส(โดยทั่วไปคือการกดปุ่ม Shutter ไว้ครึ่งหนึ่ง) มันก็จะหาโฟกัสจนได้ แล้วจะไม่มีการหาโฟกัสใหม่อีก ก็จะทำให้เราสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้หลังจากล๊อคโฟกัสแล้ว

– ปรับความชัดแบบต่อเนื่อง (Continue Auto Focus , AF-C) คือระบบปรับความชัดที่จะคอยหาโฟกัสอัตโนมัติตลอดที่เรากดปุ่มล๊อคโฟกัสค้างไว้ อีกทั้งอาจจะมีการคำนวณการหาโฟกัสล่วงหน้าของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

3.ความไวชัตเตอร์

ก็คือระยะเวลาที่กล้องเปิดรูรับแสงนั่นเอง เปิดนานก็รับแสงได้มาก เปิดไม่นานก็รับแสงได้น้อย โดยปกติที่เรียกกัน 125 , 250 , 500 ก็จะหมายถึง 1/125 , 1/250 , 1/500 วินาทีนั่นเอง โดยถ้าเปิดนานๆ ก็จะมีหน่วยตามมา เช่น 1″ ก็คือ 1 วินาที

4.ความไวแสง

จะพูดกันเป็น ISO เช่น ISO100 , ISO200 , ISO400 ถ้าจะถามว่า ที่มาของ ISO มาจากไหน

– ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่ว่า ไอ้คำว่า ISO มันก็แปลว่ามาตรฐาน เหมือนกับเราเรียก ISO9001 อะไรทำนองเนี้ยแหละ
แล้ว ISO100 มันคือขนาดไหน เอาอะไรวัดล่ะ

– อันนี้ต้องอ้างว่ามาจากฟิล์มครับ ซึ่งการผลิตฟิล์มนั้น มีออกมาความไวหลากหลายมาก ดังนั้นเขาจึงกำหนดมาตรฐานออกมาว่า เท่านี้แหละ เท่ากับ 100 และไวแสงมากกว่านี้เท่านึง ก็จะเป็น 200 ก็ว่ากันไป และนั่นก็เอามาใช้กับกล้อง digital ด้วย นั่นก็หมายความว่า ถ้าเอาฟิล์มที่ ISO100 มาวางแทน CCD ที่เราปรับความไวแสงไว้ที่ ISO100 เท่ากัน แล้วใช้ปริมาณแสงเท่ากัน เลนส์ตัวเดียวกัน ความไวชัตเตอร์เท่ากัน และรูรับแสงเท่ากัน เราก็จะได้รูปที่มีปริมาณแสงเท่ากันนั่นเอง
แบบนี้ยิ่งตั้งไวก็ยิ่งดีสิ ถ่ายง่าย ไม่ต้องกลัวสั่น

– ก็ใช่ครับ แต่ว่า ก็มีข้อเสียนะครับ คือ ยิ่งเราทำให้ CCD ไวแสงมาก CCD ก็จะยิ่งโดนรบกวนได้ง่าย ซึ่งจะทำให้เกิด noise คุณภาพของภาพก็จะลดลง

5.ระบบวัดแสง

มีอยู่หลายชนิด แต่ขอพูดถึงแค่สัก 4 ชนิดหลักก็พอ

– Spot แบบจุด เป็นระบบวัดแสงที่จะวัดแค่ตรงกลางภาพจุดเดียว(กินพื้นที่ราวๆ 2-3% ของภาพ) โดยจะไม่สนบริเวณนอกจุดนั้นเลย

– Center-Weight แบบเฉลี่ยน้ำหนักกลาง เป็นระบบวัดแสงที่นำค่าแสงรอบๆ จุดกลางมาคิดด้วยแต่อาจจะไม่มีน้ำหนักมากนัก(มากเท่าไหร่ต้องศึกษาจากตัวกล้องนั่นเอง) เช่น 60:40 , 80:20

– Average แบบเฉลี่ยทั้งภาพ เป็นระบบวัดแสงที่เฉลี่ยทั้งภาพเท่ากัน

– Multi-Segment แบบแบ่งส่วน เป็นระบบ ที่ฉลาดที่สุด โดยจะแบ่งภาพเป็นส่วนๆ (แล้วแต่กล้องอีกว่าจะแบ่งกี่ส่วน) จากนั้นจะนำมาคำนวณเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่กล้องเก็บไว้ แล้วออกมาเป็นค่าแสงที่เหมาะสม(หรือบางทีก็ไม่เหมาะนะ เหอๆ)
ชนิดของกล้องและระบบของกล้อง, กล้องดิจิตอล, กล้อง, กล้องถ่ายรูป, ราคากล้องดิจิตอล, กล้องมือสอง, กล้องถ่ายรูปดิจิตอล, กล้อง digital

6.ระบบชดเชยแสง ก็คือการตั้งให้กล้องชดเชยแสงนั่นเอง เช่น เราตั้งไว้ที่ +1 กล้องก็จะคำนวณให้ภาพสว่างกว่าปกติ 1 stop นั่นเอง (1 Stop ก็คือ ปริมาณแสงที่เปลี่ยนไป 1 เท่าตัวนั่นเอง ไว้อธิบายละเอียดทีหลังนะ)

7.ระบบล๊อคค่าแสง เป็นปุ่มที่ให้กล้องจำค่าแสงตอนที่เรากดปุ่มนั้นไว้ บางกล้องกล้องก็เก็บไว้ 10 วิ หรือบางกล้องก็ล๊อคไว้ตราบเท่าที่เราล๊อคซัตเตอร์ไว้

8.ระบบถ่ายภาพ (Exposure Mode) คือระบบที่กล้องคำนวณและปรับ รูรับแสง และ/หรือ ความไวชัตเตอร์ให้อัตโนมัติ โดยจะแบ่งเป็นหลายๆโหมดดังนี้

– Program (P) เป็นโหมดที่กล้องปรับแบบอัตโนมัติทั้งหมด เรียกว่าให้กล้องคิดเองหมดว่าแบบนี้จะเป็นถ่ายวิวป่าวหว่า หรือว่าถ่ายดอกไม้หว่า อะไรทำนองนี้

– Macro (รูปดอกไม้) เป็นโหมดที่กล้องจะคำนวณค่าให้เหมาะสมกับการถ่ายระยะใกล้

– Protrait (รูปสาว) เป็นโหมดที่กล้องคำนวณค่าให้เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล(หน้าชัดหลังเบลอ อะไรประมาณนั้น)

– Landscape (รูปภูเขา) เป็นโหมดที่กล้องคำนวณค่าให้เหมาะกับการถ่ายวิว(ชัดลึกไว้ก่อนมั้ง)

– Night Scene (รูปสาวมึนหัว) เป็นโหมดที่กล้องคำนวณค่าให้เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคลในเวลากลางคืนให้ติดวิวข้างหลัง(ใช้แฟลช+ความไวชัตเตอร์ช้า)

– Sport (รูปวิ่งราว) เป็นโหมดที่กล้องคำนวณค่าให้เหมาะกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว(ใช้ AF-C และ ความไวชัตเตอร์สูงมากๆ)

– ความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ Tv(หรือ A ในางกล้อง) เป็นโหมดที่กล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติเมื่อเราเปลี่ยนค่ารูรับแสง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระยะชัดลึกเอง

– ช่องรับแสงอัตโนมัติ Av(หรือ S ในบางกล้อง) เป็นโหมดที่กล้องจะปรับขนาดรูรับแสงให้อัตโนมัติเมื่อเราเปลี่ยนค่าความไวชัตเตอร์ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการถ่ายภาพที่เกี่ยวกับความเร็ว เช่น น้ำตก

– ปรับตั้งเอง M เป็นโหมดที่อยากได้อะไรก็ปรับเองแล้วกัน เก่งดีนัก กล้องบอกว่า ตูไม่ยุ่งก็ได้ฟะ แต่ใจดีช่วยบอกค่าแสงให้แล้วกัน ว่าที่เอ็งปรับน่ะ มันมากหรือน้อยเกินไปอยู่กี่ stop

9.ระบบสมดุลสีของแสง เป็นระบบที่กล้องจะชดเชยสภาพแสงให้ตามที่เราปรับ โดยจะมีหลายโหมด เช่น(จะยกไปเท่าที่จะนึกได้แล้วกัน)

– Auto ก็ให้กล้องคิดเองหมด กล้องดีสีก็สวย กล้องห่วยสีก็ตุ่นๆ ไม่ได้อารมณ์

– DayLight เหมาะกับสภาพแสงแดดตอนกลางวัน

– Shade เหมาะกับในร่มเงาของแสงตอนกลางวัน

– Cloud เหมาะกับการถ่ายภาพในเวลาที่แสงโดนเมฆบังหมด

– Fluorescent เหมาะกับการถ่ายภาพในสภาพแสงที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนท์ ซึ่งยังแบ่งได้ 3 ชนิดอีก คือ Daylight , WarmWhite , Cool White

– Incandescent หรือ Tungstan(เขียนถูกป่าวหว่า) สำหรับการถ่ายในแสงหลอดไส้ หรือกองไฟ

– Custom แบบเลือกเอง โดยเลือกโหมดแล้วใช้กล้องส่องไปหากระดาษขาวแล้วกดชัตเตอร์ กล้องจะทำการหาสมดุลแสงให้เอง

10.ระบบแฟลช ไม่ขอพูดถึงระบบทำงานของมัน ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ไหนจะ TTL ที่หมายถึงให้แฟลชควบคุมแสงผ่านเลนส์ว่าใส่แสงไปนานแค่ไหนถึงจะพอ อะไรอีกก็ไม่รู้ วุ่นวาย ขอเอาแค่โหมดใช้งานแล้วกัน โดยจะแบ่งเป็น

– แก้ตาแดง ก็เอาไว้ถ่ายคนเวลากลางคืนไม่ให้น้องพันซ์มาร้องแซว

– Slow Speed Sync ก็คือใช้แฟลชคู่กับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เช่นในโหมดของการถ่ายบุคคลเวลากลางคืน

– High Speed Sync ใช้แฟลชกับความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เหมาะกับการจับภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง

– แฟลชสัมพันธ์กับม่ายชัดเตอร์คู่หน้า/หลัง ขี้เกียจอธิบายว่าคู่หน้า/หลังคืออะไร แต่อยากให้เข้าใจว่า ถ้าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วิ แต่แฟลชมันไม่ได้ออกตลอดเวลา อาจจะออกแค่ 1/1000 วิ
โดยถ้าแฟลชสัมพันธ์กับคู่หน้า เมื่อเรากดชัตเตอร์ปุ๊บแฟลชก็จะยิงทันที พอครบ 1/1000 แล้วแฟลชก็จะหยุดแต่ม่ายชัตเตอร์ยังเปิดอยู่ ซึ่งจะส่งผลให้ถ้าคนวื่งอยู่ เราก็จะเป็นคนชัดด้านหลังสุด แล้วจะมีเงาเลื่อนไปด้านหน้า ยังกับคนวิ่งถอยหลัง
แต่ถ้าแแฟลชสัมพันธ์กับคู่หลัง เมื่อเรากดชัตเตอร์ แฟลชก็จะยังไม่ถูกยิง แต่พอเหลืออีก 1/1000 วิม่านจะปิด แฟลชถึงจะเริ่มยิงไปจนปิดม่านชัตเตอร์ ซึ่งจะส่งผลให้ถ้าคนวื่งอยู่ เราก็จะเป็นคนชัดด้านหน้าสุด แล้วจะมีเงาวิ่งตามหลัง เหมือนกับคนวิ่งด้วยความเร็วซะงั้น

11.ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง ก็คือระบบที่เรากดชัตเตอร์ค้างไว้ กล้องก็จะยิงชัตเตอร์รัวๆให้ตามกำลังที่มันจำทำได้นั่นเอง

12.ระบบถ่ายภาพคร่อม เป็นระบบที่กล้องจะถ่ายภาพชดเชยแสงไปทาง + และ – ให้อัตโนมัติ ทำให้เราได้ภาพมาก 3 ภาพ คือ ตามที่ตั้งค่าแสงไว้ มากว่า และน้อยกว่า โดยมากกว่าและน้อยกว่าเท่าไหร่เราก็กำหนดได้

13.ระบบถ่ายภาพแบบตั้งเวลา ก็จะแบ่งเป็น 2 แบบคือ

– ตั้งเวลาเฉยๆ ราวๆ 10 วิ หรือ 12 วิ มีเวลาพอให้วิ่งไปเก็กหล่อหน้ากล้องได้

– ตั้งเวลา 2 วิ พร้อมล๊อคกระจก ซึ่งใน DSLR นั้น ด้วยกลไกแล้วต้องมีการสะบัดกระจกขึ้นไปเพื่อเปิดทางให้แสงไปหาเซ็นเซอร์รับภาพได้ การสะบัดนี้แหละ ทำให้กล้องสั่นได้ ซึ่งก็ส่งผลกับความชัดของภาพ(แม้จะเล็กน้อยก็ตาม) กอปรกับแรงกดชัตเตอร์ก็มีผลด้วย ดังนั้นระบบนี้จึงเกิดขึ้นมเพื่อช่วยช่างภาพมืออาชีพโดยเฉพาะ โดยเมื่อเราใช้โหมดนี้แล้วกดชัตเตอร์ กล้องจะสะบัดกระจกขึ้นก่อน แล้วหน่วงเวลาไว้ 2 วิ ก่อนที่จะเปิดม่านชัตเตอร์ ทำให้ไม่เกิดแรงสะเทือนขึ้นเลย (โอวว พระเจ้ายอด มันจอร์จมาก)

14.ระบบเช็คชัดลึก อันนี้จะเป็นปุ่มเช็คระยะชัดลึกของภาพ โดยเมื่อกดแล้วกล้องจะทำการเปิดรูรับแสงตามที่เราตั้งไว้ขณะนั้น ทำให้เราเห็นภาพว่าออกมาแล้วจะชัดลึกแค่ไหน(ถ้าไม่เข้าใจ แนะนำให้อ่านเรื่อง Depth of field ที่ผมทำไว้)

15.ระบบสี คือช่วงความกว้างของสีที่ครอบคลุมถึง โดยทั่วไปกล้องจะมีให้เลือก 2 แบบ คือ Adobe RGB และ sRGB ต่างกันอย่างไร ดูรูปเอาเข้าใจง่ายกว่า
ชนิดของกล้องและระบบของกล้อง, กล้องดิจิตอล, กล้อง, กล้องถ่ายรูป, ราคากล้องดิจิตอล, กล้องมือสอง, กล้องถ่ายรูปดิจิตอล, กล้อง digital
ร่ายยาวเลยตอนนี้ หมดยังหว่า คิดว่าคงหมดแล้วนะ ไว้แค่นี้แล้วกัน ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมไว้ตอนหลังแล้วกัน

ที่มา : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=redrum