ประวัติความเป็นมาของการดำำน้ำ
หลักฐานแรกของการดำน้ำพบจากบันทึกของชนชาติกรีก โดย Herodotus โดยเล่าว่านักดำน้ำรับจ้างจากกษัตริย์เปอร์เซียทรงพระนามว่า Xerxes เพื่อที่จะค้นหาทรัพย์สมบัติที่จมหายลงไปในทะเล
จากนั้นเป็นต้นมาประวัติศาสตร์ได้บันทึกการดำน้ำไว้ในรูปแบบของการสงครามดพื่อทำลายเรือของข้าศึก ต่อมาไดี้กิจกรรมการกู้ซากเรือ หาแร่ธาตุต่าง ๆ จับสัตว์น้ำ เก็บฟองน้ำ ปะการังและไข่มุก
การดำน้ำที่ประสบผลสำเร็จในยุคแรก คือ ในราว ค.ศ. 1500-1800 ซึ่งมนุษย์สามารถคิดค้นอุปกรณ์ซึ่งทำให้นักดำน้ำอยู่ใต้น้ำได้นานขึ้น สิ่งนั้นคือ Diving Bell และมีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงปี ค.ศ. 1938 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Jacques-Yves Cousteau ได้ประดิษฐ์อุปกรณืดำน้ำแบบ Close Circuit ขึ้น แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบนัก มาถึงปี ค.ศ. 1943 Cousteau และ Gagnan ได้ร่วมกันประดิษฐ์อุปกรณ์ชื่อ Aqualung เป็นผลสำเร็จครั้งแรก ซึ่งประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า Aqualung ปฏิวัติรูปแบบการดำน้ำของโลกและได้ทดลองใช้โดย Frederiv Dumas เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 1943 หลังจากนั้นปี ค.ศ. 1948
Aqualung ได้ถูกผลิตขึ้นมาจำหน่ายเป็นการค้าครั้งแรก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาการดำน้ำก็เป็นที่แพร่หลายรู้จักกันทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยกิจกรรมเกี่ยวกับการดำน้ำเริ่มต้นขึ้นที่หน่วยประดาน้ำของกอง เรือและติดตามด้วยกการเข้ามาของฐานทัพอเมริกาที่สัตหีบที่นำเอานักดำน้ำของอเมริกาเข้ามาด้วย นอกจากนั้นนักเรียนไทยที่จบการศึกษาจากต่างประเทศก็นำมาเผยแพร่ต่อ ๆ กันมา
ความรู้ทั่วไป
เมืองไทยของเรามีท้องทะเลที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อันสืบเนื่องมาจากผืนแผ่นดินด้ามขวานของไทยที่ทอดยาวลงไปยังคาบสมุทรมลายู เป็นเสมือนเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างสองฟากทะเลและสองฝั่งมหาสมุทร โดยฝั่งตะวันออกคือ ทะเลอ่าวไทยที่เชื่อมต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิคและท้องทะเลฝั่งตะวันตก คือท้องทะเลอันดามันเชื่อมต่อกับมหาสมุทรอินเดีย
ทะเลไทยจึงเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ เป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนสินค้า ถ่ายทอดอารยธรรมของมวลมนุษย์ชาติมาแต่โบราณ ทั้งยังเป็นประตูบานใหญ่ที่เปิดรับเอาความอุดมสมบูรณ์ที่พัดพามากับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทางฝั่ง อ่าวไทยและสายลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากท้องทะเลอันดามันมาสู่ผืนแผ่นดินของภาคใต้และดินแดนฝั่ง ตะวันตก ของประเทศไทย
ท้องทะเลของเราแบ่งเขตน่านน้ำออกได้เป็น 3 ภูมิภาค คืออ่าวไทยตอนบนหรือชายทะเลภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนล่างหรือชายทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันหรือทะเลไทยภาคใต้
ฝั่งตะวันตก ซึ่งในแต่ละภูมิภาคจะมีฤดูกาลท่องเที่ยวต่างกันขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดผ่าน ได้แก่ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นตัวกำหนด
ดังนั้นในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายนจึงเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวทะเลอันดามันและอ่าวไทย ตอนบน ส่วนในช่วงเดือนเมษายนถึงปลายเดือนตุลาคมจะเป็นเวลาสำหรับท่องเที่ยวทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จึงอาจกล่าวได้ว่าเราสามารถที่จะท่องเที่ยวน่านน้ำไทยได้ตลอดทั้งปี โดยหมุนเวียนสลับกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของท้องทะเล
ความแตกต่างกันของท้องทะเลทั้งสองฝั่งก่อให้เกิดความหลากหลายของภูมิศาสตร์และสิ่งมีชีวิต อันเป็นลักษณะเฉพาะที่ยากจะหาได้จากทะเลอื่นใดในโลกนี้
ความสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์
นอกเหนือจากความเพลิดเพลินเพื่อการพักผ่อนออกกำลังกายจากการดำน้ำชื่นชมความสวย งามของโลกใต้ทะเลแล้ว ยังได้รับความรู้ความเข้าใจในสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลแต่ละชนิดว่ามีการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอดอย่างไร
เมื่อได้เห็นความสวยงามของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอย่างใกล้ชิดแล้ว ย่อมสร้างความประทับใจและเกิดความรู้สึกรักและหวงแหนต่อธรรมชาติที่ได้พบเห็นอยากให้คงอยู่คู่แผ่นดิน ตลอดไป
เมื่อเกิดความรู้สึกรักและหวงแหนก็ย่อมนำไปสู่การปกป้อง เผยแพร่สอนคนรุ่นต่อ ๆ ไป
ประโยชน์ของการดำน้ำ
การดำน้ำเป็นกีฬาที่สนุกและท้าทายอยู่ในตัวเองค่อนข้างมากพอสมควร ได้รับความตื่นตาตื่นใจกับสภาพแวดล้อมใต้น้ำซึ่งเปรียบเสมือนโลกอีกโลกหนึ่งที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน การดำน้ำนอกจากจะได้ออกกำลังกาย ได้บริหารปอดแล้วยังช่วยคลายเครียดจากภาระกิจอันยุ่งเหยิงในชีวิตประจำวัน เวลาที่อยู่ใต้น้ำจะผ่านไปยังรวดเร็ว นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ศึกษาชีวิตสัตว์และพืชทะเลซึ่งมีระบบนิเวศที่ซับซ้อนและมีความหลากหลายมาก ที่สุดในท้องทะเล นอกจากนี้การดำน้ำยังเป็นกิจกรรมที่เต็มไปด้วยความรับผิดชอบต่อชีวิตและความปลอดภัยของตนเอง และผู้อื่น รับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมใต้ทะเลซึ่งมีความเปราะบาง การนำพานักท่องเที่ยวลงไปสัมผัสกับความสวยงามใต้น้ำนั้นในทางกลับกันก็อาจทำให้เกิดการทำลายได้ ฉนั้นการเรียนดำน้ำจึงจำเป็นต้องปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใต้น้ำให้เกิดความรู้สึกรักและหวงแหน
การดำน้ำเป็นการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้คุณได้เข้าใกล้สัตว์ต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิดและศุกษาเรียนรู้สภาพแวดล้อมธรรมชาติทั้งปลาเล็กปลาใหญ่และปะการัง สำหรับชีวิตประจำวันที่น่าเบื่อหน่ายซ้ำซาก การดำน้ำก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ท้าทายความกล้าหาญและความสามารถ เพราะการดำน้ำเป็นกิจกรรมที่ไม่มีวันทำให้คุณเบื่อหน่าย
นอกจากนั้นการดำน้ำยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น เมื่อคุณนำพาตัวเองดำดิ่งลงไปในโลกของปลาใหญ่น้อย ปะการังหลากสี คุณจะได้รู้จักกับชีวิตของสรพสัตว์เหล่านั้นเพิ่มมากขึ้น
การจัดการและกฏกติกา
การดำน้ำเป็นกิจกรรมที่แตกต่างจากกิจกรรมท่องเที่ยวประเภทอื่น เพราะเป็นกิจกรรมที่มากไปด้วยความรับผิดชอบ กล่าวคือ
รับผิดชอบต่อชีวิตและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น เพราะการดำน้ำนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและผู้อื่นได้ หากขาดความรู้ความเข้าใจและความระมัดระวัง
รับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมใต้ทะเล การนำนักท่องเที่ยวลงไปสัมผัสกับความสวยงามใต้น้ำก็อาจทำให้เกิดการทำลายได้ ฉะนั้นการเรียนดำน้ำจึงจำเป็นต้องปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใต้น้ำให้กับนักดำน้ำด้วย
สำหรับนักดำน้ำ
ต้องเป็นนักดำน้ำที่ผ่านการรับรองจากสถาบันดำน้ำที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เช่น NAUI, PADI หรือสถาบันอื่น ๆ
จะต้องแสดงบัตรดำน้ำและ Log Book อย่างตรงไปตรงมาเมื่อเช่าอุปกรณ์หรือใช้บริการนำเที่ยวดำน้ำ ปฏิบัติตามกฏระเบียบของการดำน้ำอย่างเคร่งครัด
ปฏิบัติตามกฏระเบียบของพื้นที่ที่เข้าไปดำน้ำทุกครั้ง เช่น ข้อห้ามต่าง ๆ ของอุทยานแห่งชาติทางทะเล เป็นต้น
เรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพืชและสัตว์ทะเลที่มีพิษ รวมทั้งวิธีป้องกันและปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ใช้อุปกรณ์ดำน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งาน
พยายามศึกษาหาความรู้ในการดำน้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการเรียนรู้มากขึ้นย่อมนำมาใช้ประโยชน์แก่ตัวเราได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่ไม่เหมะต่อการดำน้ำ เช่น มีกระแสน้ำแรง คลื่นลมรุนแรง เป็นต้น
ไม่ยิงปลา ไม่สัมผัส เก็บ ทำลายหรือไล่ต้อนสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไม่ว่าจะด้วยมือหรืออุปกรณ์อื่นใด
ไม่เคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลเพียงเพื่อถ่ายภาพ
ไม่ซื้อของที่ระลึกที่ทำจากปะการังหรือสัตว์น้ำ
อุปกรณ์สำหรับดำน้ำ
เพื่อที่มนุษย์จะสามารถลงไปอยู่ใต้น้ำได้นาน ๆ โดยมีความปลอดภัยและสดวกสบาย กิจกรรมดำน้ำจึงมีอุปกรณ์ค่อนข้างจะมากชิ้นด้วยกัน เป็นต้นว่า หน้ากาก ท่อหายใจ ตีนกบ ถังอากาศ เรคกูเลเตอร์หรือเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ เกจ์วัดอากาศและความลึก เสื้อชูชีพ (ซึ่งเป็นคนละแบบกับเสื้อชูชีพที่ใช้ในการดำน้ำแบบ skin diving) ตะกั่ว และอื่น ๆ
อุปกรณ์ดำน้ำเหล่านี้นอกจากจะต้องเลือกซื้อเพื่อให้พอเหมาะกับแต่ละบุคคลแล้ว ยังต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นสามารถใช้งานได้นาน ๆ และการฝึกใช้เพื่อไปดำน้ำควรจะฝึกกับครูผู้สอนที่ผ่านการรับรองเท่านั้น หากนำไปฝึกกันเองก็อาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ถึงเทคนิคต่าง ๆ ในการดำน้ำ เรียนรู้ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะอยู่ใต้น้ำไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์ ปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและอื่น ๆ |