การดำน้ำตื้น Snorkeling or Skin Diving

10879

การดำน้ำตื้น
Snorkeling or Skin Diving


ความเป็นมาการดำน้ำตื้น Snorkeling or Skin Diving, การดำน้ำ, ดำน้ำ, อุปกรณ์ดำน้ำ, ดำน้ำตื้น, ทะเล, ดำน้ำ พัทยา, ฝึกดำน้ำ, Snorkeling, Skin diving

สมัยก่อนการท่องเที่ยวตามชายทะเลเป็นเพียงการไปนั่ง ๆ นอน ๆ กิน ๆ เดินเล่น หรือเล่นน้ำตามชายหาด เท่านั้น แต่ในปัจจุบันผู้คนต่างออกไปเที่ยวตามเกาะแก่งและเล่นกีฬาทางน้ำประเภทต่างๆที่แต่ละคนชื่นชอบ อาทิเช่น เรือใบ กระดานโต้คลื่นติดใบ หรือวินเซิร์ฟ เจ็ตสกี เรือเร็ว ตกปลา และโดยเฉพาะการดำน้ำดู ปะการัง การดำน้ำผิวน้ำที่ เรียกว่า “สนอร์เกิลลิ่ง” (Snorkelling) หรือ “สกินไดวิ่ง” (Skin Diving) เหมาะสำหรับการชมปะการังน้ำตื้น ซึ่งเป็นการใช ้อุปกรณ์ใน การดำน้ำเพียงไม่กี่ชิ้น ได้แก่ หน้ากากดำน้ำและท่อหายใจ ชูชีพ และตีนกบ ราคาอุปกรณ์เหล่านี้ไม่แพงและหา ซื้อได้ง่าย ที่สำคัญก็คือคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น หรือไม่แข็งพอก็ยังสามารถดำน้ำชมปะการังได้ เพียงสวมชูชีพก็สามารถแหวกว่ายบนผิวน้ำได้อย่างเพลิดเพลิน

ความรู้ทั่วไป

ทะเลไทยมีพื้นที่อันไพศาลมากกว่า 350,000 ตร.กม. ตั้งอยู่ในเขตที่เรียกว่า “อินโดแปซิฟิก” (Indo-Pacific) อันเป็นเขตที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ผลการสำรวจและศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ยืนยันว่าทะเลเขตนี้เป็นพื้นที่ที่มีอากาศและอุณหภูมิ ของน้ำ ทะเลพอเหมาะพอดี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากที่สุดในโลก ซึ่งสรรพสิ่งเหล่านี้ได้แพร่เผ่าพันธุ์กระจายอยู่ในท้องทะเลทั้ง3ด้าน คือ อ่าวไทยตอนบนหรือชายทะเลแถบภาค ตะวันออก อ่าวไทยตอนล่างหรือชายทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันหรือทะเลไทยภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ประเทศไทยมีชายฝั่งยาวกว่า 2,500 กม. และมีเกาะน้อยใหญ่กว่า 500 เกาะ ซึ่งน้อยกว่าประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่ม ประเทศอาเซียน แต่ความจำกัดของชายฝั่งและหมู่เกาะมิได้หมายความว่าโลกใต้ทะเลของไทยจะมีความสวยงาม หรือ ทรง คุณค่า น้อยกว่าประเทศอื่นๆ โดยสามารถแบ่งเขตน่านน้ำออกได้เป็น 3 ภูมิภาค คือ อ่าวไทยตอนบนหรือแถบชายทะเลภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนล่างหรือหรือแถบชายทะเลภาคใต้ฝั่ง ตะวันออก และทะเลอันดามัน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคจะมีฤดูกาล ท่องเที่ยวต่างกัน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดผ่าน ได้แก่ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตัวกำหนด ดังนั้นในระหว่างเดือนพฤศจิกายนปลายเดือนเมษายนจึงเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวทะเลอันดามันและ อ่าวไทยตอน บน ส่วนในช่วงปลายเดือนเมษายน-ปลายเดือนตุลาคมจะเป็นเวลาสำหรับท่องเที่ยวทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จึงอาจกล่าวได้ว่าเราสามารถที่จะท่องเที่ยวน่านน้ำไทยได้ตลอดทั้งปี โดยหมุนเวียนสลับกันไปตามภูมิภาค ต่างๆของท้องทะเล แต่ทั้งนี้จะมีช่วงที่มีอากาศดีทั้งสองฟากฝั่งตรงกันอยู่เดือนหนึ่งก็คือ “เดือนมีนาคม” นับเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวทางทะเลได้ทั่วน่านน้ำไทยอย่างสุขสันต์หรรษา

สิ่งที่ทำให้ทะเลไทยมีลักษณะโดดเด่นนั่นก็คือ “ลักษณะทางภูมิศาสตร์” เมืองไทยมีทะเลทั้งฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อันได้แก่ “อ่าวไทย” และฝั่งมหาสมุทรอินเดียอัน ได้แก่ “ทะเลอันดามัน” ทะเลทั้งสองฝั่งของไทยเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า”ไหล่ทวีป” คือ เป็นเขตที่มีน้ำลึกไม่เกิน 200 เมตร และเป็นบริเวณที่มีผลผลิตขั้นต้นสูงที่สุดของท้องทะเลทั้งนี้เนื่องมาจากแสงแดด การหมุนเวียนของน้ำ และปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการ ดังจะเห็นได้ว่าตามข้างๆแนวหินผารอบเกาะและพื้นทรายใต้ทะเลไทยมักจะมีแนวปะการังอันเป็นที่อาศัย หากิน ของสรรพสิ่ง มีชีวิตใต้ทะเลที่มีรูปลักษณ์และ สีสันงดงามแปลกตาที่เรียกกันว่า “อุทยานใต้ทะเล” หรือ “ป่าใต้ทะเล” ซึ่งมีอยู่ มากมายหลายแห่ง แต่ละแห่งก็จะมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันออกไปตามระบบนิเวศน์ที่มันอาศัยอยู่

หากจะเปรียบเทียบความสำคัญของทะเลทั้งสองฝั่งของไทยแล้ว คงยากที่จะสรุปได้ว่าทะเลด้านไหนมีความสำคัญ มากกว่ากัน แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไร สิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของทะเลไทยก็คือ”ความแตกต่างกันของท้องทะเลทั้งสองฝั่งที่ก่อให้ เกิดความ หลากหลาย ของ ภูมิศาสตร์และสิ่งมีชีวิต อันเป็นลักษณะเฉพาะที่ยากจะหาได้จากทะเลอื่นใดในโลกใบนี้”

ส่วนใหญ่ตามชายทะเลและเกาะแก่งกลางท้องทะเลในเมืองไทยจะอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ โดยได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลจำนวน 21 แห่ง(อีก 3 แห่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการฯ) แต่ชายทะเลและเกาะทุกแห่งก็มิใช่ว่าจะมีแนวปะการังเสมอไป อุทยานฯ ทางทะเลที่มีปะการังน้อยมาก หรือแทบ ไม่มีเลย ได้แก่ อุทยานฯ เขาสามร้อยยอด อุทยานฯ หาดวนกร จ. ประจวบคีรีขันธ์ อุทยานฯ น้ำตกธารเสด็จ จ.สุราษฎร์ธานี อุทยานฯลำน้ำกระบุรี จ.ระนอง อุทยานฯ เขาหลัก-เขาลำรู่ อุทยานฯเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อุทยานฯ อ่าวพังงา จ.พังงา อุทยานฯ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ และอุทยานฯ ทะเลบัน จ.สตูล

ความสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์ หรือ ประโยชน์ นอกเหนือจากความเพลิดเพลิน เพื่อการพักผ่อนจากการดำน้ำชื่นชมความสวยงามของโลกใต้ทะเลแล้ว ยังได้รับความรู้ ควรเข้าใจในสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลแต่ละชนิดว่ามีการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอดอย่างไร

เมื่อได้เห็นความสวยงามของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลแล้ว ย่อมสร้างความประทับใจและเกิดความรู้สึกรักและหวงแหนต่อธรรมชาติที่ได้พบเห็น อยากให้คงอยู่คู่แผ่นดินตลอดไป

การจัดการ และ กฎกติกา

ควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของพื้นที่ที่เข้าไปดำน้ำทุกครั้ง เช่น ข้อห้ามต่างๆของอุทยานแห่งชาติทางทะเล เป็นต้น

ควรเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพืชและสัตว์มีพิษใต้ท้องทะเล รวมทั้งวิธีการป้องกันและปฐมพยาบาล เบื้องต้น

ควรมีอุปกรณ์ดำน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละอย่าง เช่น การดำน้ำผิวน้ำก็ควรมีชูชีพ หน้ากากดำน้ำ และท่อ หายใจ รวมทั้งตีนกบ เป็นต้น

พยายามศึกษาหาความรู้ในการดำน้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการได้เรียนรู้มากขึ้นย่อมนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเรา ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ม ีความ ชำนาญ ในการว่ายน้ำหรือ ไม่ก็ตาม เมื่ออยู่บนเรือหรืออยู่ในน้ำควรที่จะมีชูชีพติดตัวหรือผูกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา

ระหว่างขึ้นหรือลงเรือนั้นควรรอให้เรือจอดสนิท ขณะลงดำน้ำนั้นควรลงอย่างช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน และควรลงทางบันไดเรือ ไม่

ควรกระโดดจากเรือ เร่งรีบลงน้ำในบริเวณที่ไม่คุ้นเคย เพราะอาจจะโดดลงไปโดนปะการังได้

ห้ามเอามือจับกราบเรือหรือเดินบนกราบเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาจอดเทียบท่าหรือจอดเทียบเรือลำอื่น

หากเป็นจุดดำน้ำแห่งใหม่ที่ไม่เคยลงดำน้ำมาก่อน ต้องค้นคว้าหาข้อมูลให้ได้มากพอเท่าที่จะทำได้ โดยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าว คนท้องถิ่นในละแวกนั้น หรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ

ควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่ไม่เหมาะต่อการดำน้ำ เช่น มีคลื่นรุนแรง ฝนตกหนัก เป็น บริเวณที่มี หน้าผาหินแหลมคม น้ำทะเลขุ่นมัวไม่ใส เป็นต้น

ควรเลือกจุดดำน้ำและจุดที่จะกลับเข้าฝั่งหรือขึ้นเรือในบริเวณที่ปลอดภัยที่สุด

ควรแนะนำคนขับเรือให้จอดเรือโดยใช้ทุ่นเท่านั้น ห้ามทิ้งสมอเรือบริเวณแนวปะการังอย่างเด็ดขาด

ควรลงดำน้ำต่อเมื่อร่างกายมีความแข็งแรง หากรู้ว่าไม่สบายหรือร่างกายอ่อนเพลีย โดยเฉพาะหลังการดื่มสุรา และทานยาที่ทำให้ง่วง ไม่ควรลงดำน้ำอย่างเด็ดขาด

ก่อนลงดำน้ำควรสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิดและรัดกุมเสมอ เพื่อป้องกันพืชและสัตว์มีพิษใต้ท้องทะเล นอกจากนี้หากมีถุงมือสวมใส่ด้วยก็จะดียิ่งขึ้น

ห้ามลงดำน้ำคนเดียว แต่ควรมีเพื่อนดำน้ำด้วยอย่างน้อย 1 คน เพื่อสามารถที่จะคอยช่วยเหลือซึ่งกัน และกันได้

เมื่อมีการลงดำน้ำเป็นกลุ่ม ควรฟังคำแนะนำก่อนการดำน้ำให้เข้าใจจากผู้ควบคุมการดำน้ำให้เข้าใจ รวมทั้งเชื่อฟังต่อผู้ควบคุมขณะดำน้ำด้วย

หากไม่มีความชำนาญในการใช้ตีนกบก็ไม่ควรใช้ เพราะนอกจากตีนกบจะทำให้เราเหนื่อยง่ายและเป็นตะคริวได้แล้ว ยังอาจทำลายแนวปะการังโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกด้วย

นักดำน้ำที่ใช้ตีนกบนั้นไม่ควรเข้าไปในแนวปะการังบริเวณที่มีน้ำตื้นมากๆ เพราะอาจเตะตีนกบถูกปะการังจน หักพังทลายได้ รวมทั้งการเตะตีนกบในบริเวณที่มีน้ำตื้นจะทำให้ทรายตามพื้นทะเลฟุ้งกระจายขึ้นมา ซึ่งเป็นผลให้น้ำทะเลขุ่น และเมื่อตะกอนทรายตกบนปะการังก็จะทำให้ปะการังตาย เมื่อว่ายน้ำเข้าไปในบริเวณที่มีปะการังตื้นมากๆ ควรลอยตัวนิ่งๆ แล้วใช้มือค่อยๆแหวกว่ายออกไปให้พ้นจาก บริเวณนั้น โดยไม่เตะเท้าหรือตีนกบ เพราะอาจถูกปะการังจนแตกหัก พังทลายได้ และหากเสียหลักเมื่อถูกคลื่นซัด อย่าใช้ขาเหยียบพื้น เพราะอาจทำลายปะการังและทำให้เราได้รับบาดเจ็บได้ แต่ควรปล่อยให้ลอยไปตามคลื่น ถ้ารู้ว่าจะถูกปะการังหรือกระแทกกับโขดหินก็ต้องพยายามใช้บริเวณ ปลายนิ้วหรือ ฝ่ามือดันออกมา

การดำน้ำแบบผิวน้ำนั้นส่วนใหญ่เป็นการดำน้ำตามชายฝั่งที่มีแนวปะการังอยู่ในระดับความลึกของน้ำไม่กิน 9 เมตร แต่มีจำนวนไม่น้อยที่พบแนวปะการังอยู่ในน้ำที่ลึกเพียง 1-2 เมตร เท่านั้น ดังนั้นการดำน้ำผิวน้ำบริเวณนี้ต้องคอยระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง อย่าให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดน รวมทั้งห้ามเหยียบหรือยืนพักบนปะการัง หากตัวเราถูกปะการังซึ่งนอกจากมันจะบาดหรือขูดขีดข่วนให้เกิดแผลตามร่างกายได้แล้ว ยังเป็นการทำลายปะการังด้วย เพราะปะการังแม้ว่าจะดูแข็งแกร่งเหมือนหินปูน แต่แท้ที่จริงมีโครงสร้างเป็นหินปูนแบบเนื้อพรุน จึงมีความเปราะบางและแตกหักได้ง่ายเมื่อถูกกระทบ แม้แต่กระแสน้ำแรงๆหรือลมพายุก็สามารถทำลายปะการังได้ อีกทั้งกว่าปะการังจะก่อตัวเป็นรูปร่างได้ต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานมาก ซึ่งบางชนิดใช้เวลาถึง 1 ปีในการเติบโตเพียง 1 นิ้ว

อย่าจับสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง เพราะโดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังจะไม่ทำร้ายมนุษย์ แต่ที่เราได้รับอันตรายนั้นส่วน

ใหญ่เกิดจากการจับหรือถูกสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามแต่ เช่น หอยเม่นจะไม่ว่ายลอยตัวมาไล่ตำเราหรอก แต่เราอาจว่ายน้ำอยู่ในบริเวณน้ำตื้นจนเกินไป เมื่อมีคลื่นซัดมาทำให้เราทรงตัวไม่อยู่ จึงใช้เท้าเหยียบพื้นเพื่อทรงตัว แต่กลับเหยียบโดนหอยเม่นที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล เป็นต้น

ควรประเมินขีดความสามารถของตัวเราเองว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้ไม่ทำสิ่งใดเกินไปกว่าร่างกายเองจะรับได้ เช่น ว่ายน้ำดำน้ำห่างจากฝั่งหรือเรือเป็นระยะทางไกลจนเกินกว่าจะมีแรงว่ายกลับมาได้ หรือว่ายน้ำดำน้ำ จนร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้าและไม่มีแรงเพียงพอที่จะว่ายกลับเรือหรือเข้าสู่ฝั่ง เป็นต้น

นักดำน้ำต้องรู้จักควบคุมการทรงตัวผิวน้ำให้มีประสิทธิภาพ

ห้ามให้อาหารสัตว์น้ำซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมของสัตว์ นอกจากนี้อาหารที่เราให้อาจทำให้สัตว์น้ำเจ็บป่วยได้

ห้ามจับสัตว์น้ำขึ้นมาเล่น เพราะบางชนิดมีความบอบบางที่อาจตายได้ง่าย รวมทั้งบางชนิดมีพิษที่อาจทำให้เราได้รับอันตราย

ระหว่างที่อยู่ในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำเล่นๆ หรือดำน้ำดูปะการังก็ตาม ควรมองรอบๆ ตัวทุกๆ 5-10 นาที เพื่อป้องกันตัวเราว่ายไปถูกพืชและสัตว์มีพิษใต้ท้องทะเลจนได้รับอันตรายได้

เมื่อได้ยินเสียงเครื่องยนต์เรือดังขึ้น ควรสำรวจดูว่าเรือลำนั้นจะวิ่งมาทางที่เราดำน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีเรือเร็วหรือสกูตเตอร์ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

อย่าว่ายเข้ามาใกล้เรือบริเวณหัวเรือและท้ายเรือ เพราะหัวเรืออาจถูกคลื่นโยนตัวและกระแทกถูกเราจนได้รับบาดเจ็บได้ ส่วนท้ายเรือมีใบพัดซึ่งมีนักดำน้ำหลายคนเสียชีวิตเพราะใบพัดเรือมาแล้ว

ห้ามทิ้งขยะและเศษอาหารลงในทะเล

ห้ามเก็บปะการังหรือซื้อสิ่งของที่ระลึกที่ทำจากปะการัง เปลือกหอย กระ(กระดองเต่า) ปลาปักเป้าโคมไฟ รวมทั้งสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังเป็นอันขาด เพื่อช่วยอนุรักษ์แนวปะการังไว้ให้ยั่งยืนสืบนาน

อุปกรณ์

ชูชีพ (Life Vests) ชูชีพเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการเดินทางโดยสารทางเรือหรือการเล่นกีฬา ทางน้ำ อาทิ การดำน้ำแบบผิวน้ำ (Skin Diving) เพื่อชมปะการังน้ำตื้น เจ็ตสกี สกีน้ำ การแล่นเรือใบ การล่องลำน้ำหรือ ทะเลสาปด้วยเรือแคนู หรือเรือคยัก การล่องแก่งตามลำน้ำเชี่ยวกรากด้วยเรือยาง การตกปลาขณะอยู่ในเรือ ฯลฯ ส่วนที่สำคัญ ที่สุดของชูชีพก็คือ เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้ประสพภัยทางน้ำ ซึ่งเรือแต่ละลำจะต้องมีชูชีพติดประจำเรือในจำนวนที่ไม่น้อยกว่าผู้โดยสารอยู่ตลอดเวลาตามกฎหมาย ของกรมเจ้าท่าที่ได้ประกาศออกมา บังคับใช้เป็นข้อกำหนด

หน้ากากดำน้ำ (Diving Mask) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในการดำน้ำทั้งแบบผิวน้ำ (Skin Diving) เนื่องจากหากเราทดลองลืมตาในน้ำก็จะพบว่าภาพที่เห็นจะไม่ชัดหรือเบลอไปหมด สาเหตุมาจากตาของเราไม่สามารถปรับโฟกัสให้ชัดเจนได้ในสภาวะที่มีน้ำหรือของเหลวล้อมรอบอยู่ ดังนั้นหน้ากากดำน้ำจึงเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ขณะดำน้ำ เพราะเมื่อสวมหน้ากากดำน้ำจะทำให้เกิดช่องอากาศขึ้นระหว่างนัยน์ตาของเรากับน้ำที่ล้อมรอบอยู่ ภายนอกหน้ากากดำน้ำ ทำให้ตาสามารถปรับโฟกัสได้ เราจึงมองเห็นทัศนียภาพต่างๆ ใต้ท้องทะเลได้อย่างชัดเจน แต่กรณีที่แสงจะต้องเดินทางผ่านน้ำและผ่านช่องอากาศที่อยู่ภายในหน้ากากเข้ามายังนัยน์ ตานี่เอง ความเร็วของแสงที่เดินทางผ่านทั้ง 2 อย่าง จะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดการหักเหของแสงขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้เรามองเห็นภาพใต้น้ำมีขนาดใหญ่ขึ้นและใกล้กว่าความเป็นจริงประมาณ 25%

ท่อหายใจ (SNORKEL) ท่อหายใจช่วยทำให้นักดำน้ำผิวน้ำ (Skin Diver) สามารถนอนคว่ำบนผิวน้ำเพื่อดูธรรมชาติใต้ท้องทะเลได้ตลอดเวลาโดยหายใจสูดอากาศเข้า ปอดผ่านท่อหายใจได้อย่างสบาย ซึ่งมีปลายโผล่พ้นผิวน้ำและช่วยสงวนพลังงานของร่างกายโดยไม่ต้องเงยหน้าขึ้นมา หายใจ อันจะทำให้เหนื่อยง่าย

ตีนกบ (FINS) ตีนกบเป็นอุปกรณ์สวมใส่กับเท้าที่จะช่วยถ่ายทอดพลังงานจากเท้าไปสู่น้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เราเคลื่อนที่ในน้ำได้เร็วขึ้น แต่ออกแรงน้อยลง ผู้ใช้จะไม่ค่อยรู้สึกเหนื่อยแม้จะว่าย น้ำดำน้ำเป็นเวลานาน ตีนกบแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท หรือ 2 รูปแบบ คือ แบบหุ้มส้น และแบบเปิดส้น

ความปลอดภัย

ควรตรวจสอบว่าผู้ประกอบการที่ให้บริการมีใบอนุญาตประกอบการอย่างถูกต้อง ควร ตรวจสอบจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลงเรือ ห้ามเกินจำนวนที่ระบุไว้ และมีอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเรือ

ควรตรวจสอบว่าในเรือเดินทางมีชูชีพเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยวทุกคน และให้นักท่องเที่ยวสวมใส่เมื่อลงเรือทุกครั้ง

ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องว่ามีความพร้อมที่จะนำไปใช้ หากมีส่วนชำรุด ฉีกขาด ควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย

ควรมีเครื่องมือปฐมพยาบาลขั้นต้นไว้เสมอ เช่น ยาแก้เมา น้ำส้มสายชู

ควรตรวจสอบสภาพภูมิอากาศก่อนออกไปดำน้ำว่าปลอดภัยต่อผู้ลงดำน้ำหรือไม่ เช่น คลื่นลม, กระแสน้ำ