หลักกิโลเมตรมีที่มาอย่างไร

8854

หลักกิโลเมตรมีที่มาอย่างไร


หลักกิโลเมตรมีที่มาอย่างไร, หลักกิโลเมตร, กิโลเมตร, หลักสูตร, กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท, การเกิดฤดูกาล, ฤดุกาลต่างๆ, ฤดูกาล, ท่องเที่ยว, การท่องเที่ยว

หลายคนคงรู้จักกับเจ้าแท่งปูนขาวๆ รูปทรงอ้วนๆ ยอดแหลมแบบตัดๆ ที่อยู่ข้างทางหลวงใหญ่ๆ ที่เราเดิน ทางเวลาไปต่างจากจังหวัดหรือแม้แต่อยู่ในเมืองก็มีให้เห็น แล้วรู้กันหรือเปล่าว่าแท่งนี้มีประโยชน์อย่างไร ดูยังไง

แท่งปูนขาวที่ว่านี้ เรียกว่า “หลักกิโลเมตร” ถ้าใครดูเป็น ก็จะมีประโยชน์มาก เพราะมันสามารถ บอกระยะ ทางใก้กับเราได้ว่าอีกกี่กิโลเมตรจึงจะถึงจุดหมาย โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนขับรถเอง แล้วยังไม่ชินกับเส้นทาง หลักกิโลเมตรก็ช่วยคุณได้เยอะ

มีการสันนิษฐานกันว่า หลักกิโลเมตรในเมืองไทย น่าจะเกิดมาพร้อมๆ กับการกำเนิดทางหลวงหมาย เลข 1 ถนนพหลโยธิน เมื่อ พ.ศ.2481 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยกำหนดให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมทางหลวง เหตุที่ให้มีหลักกิโลเมตร เพื่อให้ความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้ใช้ถนนด้วยการบอกระยะทางในการเดินทางให้ชัดเจน

ประโยชน์ของหลักกิโลเมตร แบ่งได้ 2 ส่วนคือ

– ประโยชน์ต่อผู้ใช้ถนนทั่วไป
เป็นตัวบอกระยะทางของจุดหมายปลายทางที่เราจะไปว่ามีระยะทางเท่าไรอีกกี่กิโลเมตรจึงจะถึงจุดหมาย และยังบอกตำแหน่งของเส้นทางที่เรากำลังเดินทางว่าเราอยู่ ณ จุดใดเมื่อเกิดความไม่แน่ใจในเส้นทาง

ประโยชน์ต่อกรมทางหลวง

เป็นตัวกำหนดค่าบำรุงรักษาเส้นทางโดยยึดรหัสที่ปรากฎบนหลักกิโลเมตรว่าสัมพันธ์กับรหัสของ แขวงจังหวัด ใดจังหวัดนั้นก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และยังเป็นประโยชน์ในการเวนคืนที่ดินอีกด้วย ซึ่งหลักฐานของโฉนดที่ดินจะต้องมีความสัมพันธ์กับหลักฐานใน แขวงจังหวัดโดยยึดหลักกิโลเมตรเป็นสำคัญ ส่วนประกอบของหลักกิโลเมตร

หลักกิโลเมตร 1 หลัก จะประกอบไปด้วยตัวเลขบอกระยะทาง 3 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านซ้าย ด้านขวา ในส่วน ของด้านหน้านั้น จะมีสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบปรากฎอยู่ ถ้าเป็นของกรมทางหลวงจะใช้สัญลักษณ์ตราครุฑ พบได้ ตามเส้นทางที่เชื่อมระหว่างภูมิภาค จังหวัด และอำเภอสำคัญๆ ของประเทศ และถ้าเป็นเส้นทางในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการจะใช้เป็นรูปเทวดา 3 องค์ ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่แยกจากทางหลวงแผ่นดินไปตามหมู่บ้าน ไม่เกิน 10 กิโลเมตร การที่กำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ ปรากฎอยู่ด้านหน้าของหลักกิโลเมตรนั้น ก็เพื่อจะได้รู้ว่าเส้นทางนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด

หลักกิโลเมตรแต่ละหลักมีต้นทุนในการก่อสร้างประมาณ 1,500-1,600 บาท แต่ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับ การขนส่ง วัสดุ หิน ปูน ทราย ว่าระยะทางขนส่งใกล้-ไกลแค่ไหนและจะวางไว้ทุกๆ 1 กิโลเมตรตลอดเส้นทาง (รู้อย่างนี้แล้วช่วยกันรักษาสมบัติของประเทศด้วยนะ)

ปัจจุบันนี้เราจะเห็นหลักกิโลเมตรได้ตามถนนแทบทุกสายของไทย ถ้าเราไม่แน่ใจในเส้นทางก็ สังเกตดูจาก หลักกิโลเมตรก็ได้ ว่าแต่มองให้ทันก่อนที่รถจะรีบแล่นฉิวไปหล่ะ 🙂