ป่าในเมืองไทยนั้น เมื่อมองดูแล้ว ก็ดูเหมือนกับว่ามีกันอยู่หลายชนิด ความจริง แตกต่างกันก็ตรงภูมิประเทศและภูมิอากาศ ต้นไม้จะต้นใหญ่ หรือเล็ก และ จะมีชนิด ที่แตกต่างกันออกไป แต่ที่แน่นอนที่สุด เราสามารถ แบ่งสภาพป่าในเมืองไทยได้ 2 ชนิด คือ ป่าไม้ผลัดใบ และป่าไม่ผลัดใบ
ป่าไม้ผลัดใบ
จะมีอยู่ประมาณ 30 % ของพื้นที่ป่าไม้ในเมืองไทย สมารถ จำแนกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest OR Rain Forest)
เป็นป่าที่เขียวอยู่ตลอดทั้งปี ใบจะเขียวติดต้นตลอดปี ถ้ามีร่วงก็ จะร่วงไม่พร้อมกัน และใบใหม่ก็จะออกมาแทน จึงทำให้ป่าประเภทนี้ดูเขียว อยู่ตลอดเวลา ป่าดงดิบมีอยู่ทั่วไปของประเทศ จะมีมากมายทางภาคใต้ และภาคตะวันออกของประเทศ เช่น จ. ระยอง จ. จันทบุรี จ. ตราด ป่าดงดิบจะเกิดได้ ต้องมีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างชื้น และฝนตกชุก ได้รับอิทธิพลของ ลมมรสุมอย่างมาก มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และสามารถแยกประเภทได้อีกคือ
•ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest Of Evergreen Forest) เป็นป่ารกทึบ เกิดขึ้นหนาแน่น มองดูแล้วจะเขียว ชอุ่ม ตลอดทั้งปี มีมากในภาคใต้ และภาคตะวันออก กระจัดกระจายตามความสูง ตั้งแต่ 400 – 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ประเภทนี้จะมีลำต้น ตรงสูง เพื่อ แย่งกันรับแสงอาทิตย์ ไม่ค่อยมีกิ่งก้านเท่าไรนัก เช่นไม้ยาง ไม้ตะเคียน กะบาก อบเชย จำปาป่า ส่วนที่เป็นพืชพื้นล่างก็จะเป็นพวก ปาล์ม ไผ่ ระกำ หวาย บุกขอน เฟิร์น มอส กล้วยไม้ป่า และเถาวัลย์ ชนิดต่างๆ
•ป่าดิบแล้ง (Dry Forest Or Semi-evergreen) กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ จะมีมากตามภาคกลาง และในพื้นที่ค่อนข้างราบ และจะอยู่สูงไม่เกิน 100-500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ป่าดิบแล้งที่ยังคงความสมบูรณ์ ที่สุดคือ ป่า ภูหลวง-วังน้ำเขียว ที่ ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ซึ่งเดิมเป็นรอยต่อของเทือกเขาดงพญาเย็น ป่าดงดิบที่มีชื่อเสียง
•ป่าดิบเขาหรือป่าตีนเขา (Hill Ever Green Forest) เป็นป่าที่ทรงคุณค่า ยิ่งของมวลมนุษย์ เพราะเป็นต้นน้ำลำธาร และเป็นป่าที่เป็นแหล่งซับน้ำ ที่สำคัญ ของประเทศ เป็นป่าที่มีทิวทัศน์ ที่สวยงาม จะอยู่ตามเขาสูง ตั้งแต่ 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ขึ้นไป ส่วนใหญ่ จะอยู่ ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ลักษณะป่า จะโปร่งกว่าป่าดิบชื้น มีต้นไม้ใหญ่น้อยกว่า อากาศ เย็นเพราะอยู่บนความสูงตั้งแต่ 100 เมตร ขึ้นไป มีมอสส์ และเฟิร์นขึ้นปกคลุม จนดูคล้ายเป็นต้นไม้ใส่เสื้อ
ป่าสนเขา (Pine Forest Or Coniferous Forest)
จะเกิดขึ้นตามภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป จะมีพบได้ที่อุทยานแห่งชาติ พุเตยในเขตภาคกลางที่ จ. สุพรรณบุรี และนอกจากนี้ยังพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จะเกิดขึ้นในสภาพพื้นดิน ที่ไม่ค่อยจะอุดมสมบูรณ์เท่าไรนักมีความเป็น กรด สูง
ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove Forest)
หรือ ป่าเลนน้ำเค็ม หรือป่าเลน พบมากตามป่าเลนที่อยู่ติด กับทะเล หรือบริเวณ ปากแม่น้ำใหญ่ๆ ที่น้ำทะเลท่วมถึง ป่าประเภทนี้จะเกิดขึ้นหนาแน่นมาก จะพบทางฝั่งอ่าวไทย ทางฝั่งตะวันออก และภาคกลางที่สมุทรสาคร พันธุ์ไม้ ได้แก่ ไม้โกงกาง ไม้ประสัก ถั่วขาว โปร่ง พร้า ตาตุ่ม แสมทะเล ลำพูน ลำแพน หลุมพอ ฯลฯ
ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest of Marsh Land)
พบตามบริเวณที่ราบลุ่มต่ำตอนใน ที่มีน้ำจืดท่วมขังอยู่นานพื้นผิวดิน เป็นโคลน และหล่มลึก ป่าพรุในภาคกลาง เป็นลักษณะป่าโปร่ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญมีขนาดเล็ก ได้แก่ คร่อเทียน , สนุนจิก , โมกข้าน , หมายน้ำอ้อ , ระกำ ส่วนพรุในภาคใต้ จะขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขัง ตลอดทั้งปี มีซากพืช ผุสลายที่ทับถม กันเป็นเวลานาน ป่าพรุทางใต้แบ่งออกได้ 2 ประเภท ค ือ ตามบริเวณที่เป็นป่า พรุน้ำกร่อย ใกล้ชายฝั่งทะเล มีต้นเสม็ด ขึ้นอยู่หนาแน่นเรียกว่า ป่าพรุเสม็ด อีกลักษณธหนึ่งเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ขึ้นปะปนกันได้แก่ อินทนิลน้ำ กระทุ่มน้ำ กระทังหัน ฯลฯ ส่วนพื้นล่างประกอบด้วย หวาย ตะกร้าทอง หมากแดง
ป่าชายหาด (Beach Forest)
เป็นป่าโปร่งที่ชอบขึ้นอยู่ ตามชายหาดที่มีน้ำท่วมถึง มีไม้จำพวกกระบองเพชร มะค่าแต้ เสมา
ป่าผลัดใบ( Deciduous Forest)
จะอยู่ทางแถบที่ค่อนข้างแห้งแล้งของประเทศ พืชชนิดนี้จะทิ้งใบในฤดูแล้ง พร้อมกันหมด และจะผลิใบออกมาใหม่ เมื่อมีปริมาณน้ำในอากาศมากพอจะสามารถแบ่งประเภท ของป่าผลัดใบได้ 4 ประเภท
ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
บางทีเรียกว่าป่าผลัดใบผสม จะมีต้นไม้หลายชนิด เกิดขึ้นปะปน กันเป็นจำนวนมาก สภาพป่า ส่วนใหญ่ค่อนข้างแห้งแล้ง และจะชุ่มชื้นในฤดูฝน มีอยู่ทั่วไป ตามเขา และที่ราบต่ำ ในทางภาคเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้สัก ประดู่ มะค่าโมง ไม้แดง
ป่าเต็งรัง (Dry Dipter Carp Forest)
หรือที่เรียกกันว่า ป่าเบญจพรรณแล้ง ทางเหนือเรียกว่าป่าแพะ ทางภาคอีสานเรียกกันว่า ป่าเบญจพรรณแล้ง ทางเหนือเรียกว่าป่าแพะ ทางภาคอีสานเรียกว่าป่าโคก ป่าชนิดนี้ ค่อนข้างโล่ง คล้ายป่าทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ เต็งรัง เหียง พลวง รก ฟัง หญ้า เพ็ก ฯลฯ
ป่าหญ้า หรือป่าทุ่ง (Savannah of wooded savannah of grassland)
เป็นป่าที่เกิดขึ้น หลังจากการเผา และทำลายป่าบริเวณที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ หรือไร่เลื่อนลอย ลักษณะดินเป็น ดินปนทราย หรือดินลูกรัง มีปริมาณ น้ำฝนน้อย อย่างเช่น ทุ่งกุลา ร้องไห้ จ. สกลนคร ส่วนใหญ่จะเป็นป่า หญ้าคา หญ้า ขนตาช้าง หญ้า โขมง
ป่าละเมาะ (Scrub Areds)
เป็นป่าเตี้ยๆ อยู่ข้างหมู่บ้านประกอบ ด้วยไม้พุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีพวกสาบเสือ หญ้าคา เป็นส่วนใหญ่ |