重庆 ฉงชิ่งเมืองนี้มีขนาดเล็ก แต่ความสำคัญอยู่ในระดับมณฑลเพราะว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการหลักของพรรคคอมมิวนิสต์สมัยเหมาเจ๋อตุงนั่นเอง แต่ว่าเราแทบไม่ได้เที่ยวฉงชิ่งมากมายนะครับทริปนี้ เพราะเป็นทริปใจสั่งมาอันนี้เรื่องจริง
เริ่มต้นเช้าวันที่ 18 (วันเสาร์) พฤษภาคม นัดรวมเจอกันที่สนามบินดอนเมือง เดินทางไปสนามบิที่เจียงเป่ย(มั้ง) โดยสารการบินไทยแอร์เอเซีย เที่ยวบินอะไรจำไม่ได้ แต่เป็นไฟ้ล์เช้านะครับ กว่าเราจะไปถึงก็ประมาณ 10.30น. ได้ พอไปถึงก็นัดเจอคนขับรถของเราแต่ แอดก็มีอาการ งงๆ สนามบินใหม่ของพี่เขา ซึ่งที่จริงถ้าใช้สนามบินเดิมเล็กๆ ที่ติดกันกับบินในประเทศก็ว่าสบายใจกว่าเยอะ ตอนนี้สนามบินเบ้อเริ่ม มีท่ารถอยู่ข้างในครบวงจร โดยจุดมุ่งหมายแรกของเราก็คือ “เมืองเซียนหนี่ว-仙女镇” เมืองเล็กๆ ที่สภาพอากาศเย็นสบายเหมือนชื่อที่แปลว่าเทพสาวๆ นั่นเอง พอฝนตกหมอกก็ลง เมืองนี้เป็นที่ตั้งของหลุมฟ้านั่นเองครับ โดยวันแรกกว่าจะไปถึงก็บ่ายๆแล้ว ก็ตัดสินใจแวะทุ่งหญ้าของเมืองละกันครับ มองด้วยตาเปล่าสวยดีครับ แต่กล้องมือถือถ่ายออกมาแล้วจบข่าวเลย หมอกลงจัด
![ฉงชิ่ง อู่หลง หลุมฟ้าสะพานสวรรค์ รอยแยกแผ่นดิน ทริปเดินทาง](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-1-1.jpg)
วันแรกก็เลยไม่ค่อยมีภาพนะจ๊ะ ส่วนคืนนี้เรานอนหน้าจุดขายตั๋วเลย พอวันที่สอง ณ ตอนเช้าหลังกินข้าวเสร็จ ก็ได้เวลาเดินเที่ยวกันยาวๆ เลยละครับ โดยปกติหลุมฟ้า คนจะเข้าใจว่าอยู่แค่หลุมฟ้าสะพานสวรรค์ แต่จริงๆ แล้วเมื่อมีหลุมฟ้า ก็ต้องมีรอยแยกของแผ่นดินตามมาสิครับ วันนี้ก็เหนื่อยหน่อย กลางวันไม่ได้แวะกินข้าว ก็ยาวไปครับ สองอุทยานกันยาวๆ ไปเลย
![ฉงชิ่ง อู่หลง หลุมฟ้าสะพานสวรรค์ รอยแยกแผ่นดิน ทริปเดินทาง](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-3-1.jpg)
![ฉงชิ่ง อู่หลง หลุมฟ้าสะพานสวรรค์ รอยแยกแผ่นดิน ทริปเดินทาง](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-4-1.jpg)
โดย ภาษาจีนจะเรียกว่า หลุมฟ้า 3 สะพาน โดยถ้ามองจากมุมบนจะมีลักษณะเหมือนสะพานพาดผ่านหลุมนี้ 3 เส้นด้วยกัน โดยจะเรียกว่า “สะพานมังกรฟ้า” “สะพานมังเขียว” และ “สะพานมังกรดำ”
![ฉงชิ่ง อู่หลง หลุมฟ้าสะพานสวรรค์ รอยแยกแผ่นดิน ทริปเดินทาง](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-5-1.jpg)
![ฉงชิ่ง อู่หลง หลุมฟ้าสะพานสวรรค์ รอยแยกแผ่นดิน ทริปเดินทาง](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-7-1.jpg)
![ฉงชิ่ง อู่หลง หลุมฟ้าสะพานสวรรค์ รอยแยกแผ่นดิน ทริปเดินทาง](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-9-1.jpg)
![]() |
![]() |
มาในช่วงฝนตกก็สวยงามไปอีกแบบ แต่อาจต้องใช้มือถือถ่ายภาพ
![]() |
![]() |
ทีเร็ก-เล็กจริงๆ ตัวม่ายหย่าย
![]() |
![]() |
จุดต่อไปในช่วงบ่ายก็ลุยต่อกันยาวๆ
“รอยแยกแห่งแผ่นดิน”
“天坑地缝” เทียนเคิง ตี้เฟิง แปลตรงๆ ว่า หลุมฟ้า รอยแยกแผ่นดิน เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเซียนหนี่ว แต่คนไทยเรียกรวมว่า “อู่หลง” นั่นละครับ ฉะนั้นมาหลุมฟ้า ก็ต้องไปรอยแยกด้วยถึงจะเรียกว่าครบครับผม แต่เดินกันขาลากเลย ปล.ค่าตั๋วก็จำไม่ได้แล้วฮะ บางทีก็มีโปรถูกๆ ก็มีครับผม
![]() |
![]() |
เปิดฉากก็ลงดิ่งดำดิ่งลงไปยาวๆ ลึกๆเลยนะครับ
![]() |
![]() |
ตลอดทางเป็นเส้นทางธารน้ำไหล กับ น้ำตก สลับไปมา เยอะมากๆ เปียกปอนไปหมด ว่าแล้วตัดจบไปเลย
กลับๆๆ ฉงชิ่งเหอะ
ฉงชิ่ง เป็นแค่จุดพักผ่อน ไว้รอเดินทางยาวต่อไปครับผม แต่ฉงชิ่งเป้าหมายของเรานั้นมีแค่ ร้านหนังสือเท่ๆ เรียกว่า “จงซูเก๋อ” ตั้งอยู่ที่บริเวณ “จตุรัสจงตี๋” นั่นเองครับ ย่านนี้ของกินอื้อเลย
![ฉงชิ่ง ร้านหนังสือจงซูเก๋อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-20-1.jpg)
![]() |
![]() |
ร้านจงซูเก๋อ สาขานี้เป็นสาขาฉงชิ่ง ครับ สาขาเฉิงตูก็สวยเหมือนกันนะครับ
![ฉงชิ่ง ร้านหนังสือจงซูเก๋อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-23-1.jpg)
![ฉงชิ่ง ร้านหนังสือจงซูเก๋อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-26-1.jpg)
![ฉงชิ่ง ร้านหนังสือจงซูเก๋อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-25-1.jpg)
ร้านหนังสือ “จงซูเก๋อ” สาขาฉงชิ่งนั้น เน้นการสะท้อนภาพด้วยกระจก เป็นจุดหลักครับ
![]() |
![]() |
ฉงชิ่งยามค่ำคืนกลางเมือง และวันถัดมาก็เตรียมตัวไปเมืองต้าจู๋
大足 เมืองต้าจู๋แห่งนี้เป็นสถานท่ี ที่มีหินแกะสลักจากผาหิน หลับไหลอยู่นับพันปี สถานที่ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจาก ฉงชิ่ง สักเท่าไหร่นัก โดยรายละเอียดหลักหาอ่านได้ในหน้าเว็บไซต์นะครับ : ผาหินแกะสลักต้าจู๋
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-1-1.jpg)
โดยจุดที่เราจะไปวันนี้มี 2 จุดด้วยกัน โดยจุดแรกจะเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมาเยือนกันเยอะ เรียกว่า “เป๋าติ่งซาน” ซึ่งสร้างขึ้นใน “สมัยราชวงค์ซ่ง” ประมาณ ค.ศ.ที่1200 จะเน้นความยิ่งใหญ่ บอกเล่าเรื่องราวผ่านผาหิน
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-2-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-4-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-3-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-5-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-6-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-7-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-8-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-9-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-10-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-11-1.jpg)
ต่อไปก็จะเป็นงานชิ้นเอกของ “เป่าติ่งซาน” แห่งนี้แล้วครับ
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-12-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-14-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-16-1.jpg)
โดยตามคำบอกเล่านั้น มีทั้งสิ้นอยู่ 1007 กร ด้วยกัน โดยจะมีสิ่งของอยู่บนมือเป็นคู่ๆ แต่ที่ไม่เข้าใจทำไม จำนวนกร ทั้งหมดไม่เป็นเลยคู่
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-15-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-18-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-canon-23-1.jpg)
จุดต่อไปในเมืองต้าจู๋ก็คือ “เป่ยหยาสือเค่อ” ผาหินแกะสลักทางทิศเหนือ ที่มีความเก่าแก่มากกว่าในอีกยุคสมัยนึง ซึ่งมีการก่อสร้างตั้งแต่ช่วงสมัย “ราชวงค์ถัง” ประมาณ ค.ศ. 800-900 และแบ่งห้องแกะสลักออกเป็นห้องๆ แบบถ้ำตุนหวง อันนี้เก่าและสวยครับ และ มีอีกหลายๆ ห้องที่ยังไม่เปิดให้เข้าชม ปกติไม่มีคนมาครับไม่มีใครพามา แต่เราไม่ปกติ!!!
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-29-1.jpg)
![ต้าจู๋สือเค่อ ผาหินแกะสลักต้าจู๋ เป่าติ่งซาน เป่ยซานสือเค่อ](/wp-content/uploads/2019/07/chongqing-iphone-30-1.jpg)
![]() |
![]() |
โดนจุดเด่นบริเวณนี้ยังมี พระใหญ่ที่อยู่ใต้เจดีย์ มากันแบบเป็นคู่ๆ เลยครับ อย่างเท่!!!