甘孜 กานจือ เป็น 1 ในภูมิภาคหลัก และ เป็นพื้นที่ปกครองตนเองชาวทิเบต ของ มณฑลเสฉวน ดั่งชื่อที่กล่าวมาว่า ชาวทิเบต เพราะฉะนั้น พื้นที่บริเวณนี้ก็จะถูกจัดเป็นพื้นที่ราบสูง เกือบ 80% และ ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีทัศนียภาพสวยเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว


ดั่งที่กล่าวมา หลังจากที่ประเทศจีนปิดตัวจากโควิด ก็กินระยะเวลาเกือบ 3 ปีเต็มๆ มณฑลแรกที่อยากมาเยือนก็คือ เสฉวน ซึ่ง ทริปกานจือที่จัดขึ้นมา หลักๆ ก็เพราะอยากมานั่นเอง และ มีสถานที่ใหม่ๆ แปลกตาอีกมากมายที่ อนุญาติให้ชาวต่างถิ่นเข้าไปได้ ในช่วงโควิดเกิดขึ้นมากมาย เช่น ทะเลสาบน้ำเต้า อุทยานชั่วปู่โกว อุทยานย่าลา และ อื่นๆ อีกมากมายเลย ซึ่งสถานที่เหล่านี้หลายๆ แห่ง ยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเลย จึงทำให้แอดมินอยากจะไป เนื่องจากเดือน 5 ปี 2023 ได้ลองกลับไปยัง อุทยานย่าติง และ ผิดหวังกับการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวมาก ซึ่งสะดวก คนที่ไม่เคยไปก็ควรไป แต่ “ย่าติงในความทรงจำ” ของผมคงไม่มีวันหวนคืนมา

กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า เสฉวน
อุทยานทะเลสาบน้ำเต้า
กานจือ อุทยานหย่าลา เสฉวน
อุทยานย่าลา
กานจือ อุทยานชั่วปู่โกว เสฉวน
อุทยานชั่วปู่โกว

มณฑลเสฉวน มีพื้นที่ปกครอบตนเอง (自治州) หรือ ที่เรียกกันว่า “ซานโจว-สามโจว” (三州) ซึ่งกินพื้น ประมาณ 62% ของมณฑล โดยแบ่งเป็น

  • พื้นที่ปกครองตนเอง “กานจือ” 甘孜自治州 ชนกลุ่มน้อยแถบนี้ส่วนมากจะเป็น ชาวทิเบต กินพื้นที่ ทิศตะวันตกของ ทาง เฉิงตู จนติดกับ ทิเบต (สถานที่ขึ้นชื่อที่สุดก็คือ ย่าติง)
  • พื้นที่ปกครองตนเอง “อาป้า” 阿坝自治州 ชนกลุ่มน้อยแถบนี้ส่วนมากจะเป็น ชาวทิเบต และ ชาวเชียง กินพื้นที่ ทิศเหนือของ ทาง เฉิงตู รวมไป ถึงพื้นที่ทางตอนใต้ ของมณฑลชิงไห่ และ กานซู่ หรือ ที่เรียกันว่า “กานหนาน” 甘南 (สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ก็คือ จิ่วไจ้โกว)
  • พื้นที่ปกครองตนเอง “เหลียงซาน” 凉山州自治州 ชนกลุ่มน้อยแถบนี้ส่วนมากจะเป็น ชาวอี๋ กินพื้นที่ของ ทางทิศใต้ เยื้องไปทางทิศตะวันตก ของทาง เฉิงตู จนถึง มณฑลยูนนาน (สถานที่ท่องเที่ยว ก็คือ พระใหญ่เล่อซาน และ ทะเลสาบหลูกูหู(เมืองลับแลที่ปกครองโดยผู้หญิง) ซึ่งเป็นจุดที่กินพื้นที่ 2 มณฑล

แต่ ประชากร ในพื้นที่ปกครองตนเอง เหล่านี้ มีประมาณเพียง 6.8 ล้านคน ซึ่งถือเป็น จำนวนประชากรเพียง 8-9% ของ มณฑลเสฉวน เท่านั้นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า พื้นที่เหล่านี้ ประชาชรอาศัยอยู่น้อยมาก ทำให้พื้นที่เหล่านี้ อุดมไปด้วยแหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก


ในวันที่ 21 ตุลาคม 2566 นั้น ซึ่งนับเป็นวันแรกของการเดินทาง ใช้เวลาทั้งวันไปกับการเดินทางมุ่งสู่ มณฑลเสฉวน เมืองหลัก เฉิงตู ซึ่งสนามบินแห่งใหม่นั้น ตั้งอยู่ในเมือง “จือหยาง-资阳” ซึ่งอยู่ห่างจากเฉิงตูประมาณ 70 กม. ใช้เวลาเดินทาง 80-90 นาที และ วันที่ 22 ตุลาคม 2566 วันนี้ก็นับว่าเดินทางยิงยาวอีกวัน แต่จะมีจุดให้แวะลงไปถ่ายรูป บ้างเป็นจุดๆ

ซึ่งการที่ต้องเดินทางระยะยาวในบางวันนั้น เพราะว่าทางตัวผมจะพยายามเลือกสถานที่ระดับความสูงน้ำทะเลไม่ให้เกิน 3000 เมตร เพราะว่าร่างกายจะได้ปรับตัวได้ไว และ ไม่ป่วยกัน

โดยจุดแรกที่เราจะได้แวะกัน และ เป็นจุดคอนเฟริมว่าได้เข้าพื้นที่ “กานจือ” แล้วนั้นก็จะเป็น เนินเขา “เจ๋อตัวซาน” พื้นที่ระดับความสูงเกิน 4000 เมตรในจุดแรก

กานจือ เสฉวน เจ๋อตัวซาน กานจือ เสฉวน เจ๋อตัวซาน

โดยในคืนแรกนั้นเราจะพักกันที่เมือง “หย่าเจียง” ซึ่งเป็นจุดที่ระดับน้ำทะเลสูงประมาณ 2700 เมตร ก่อนมุ่งขึ้นสู่หลี่ถางที่สูงถึง 4000 เมตร เลยนั่นเอง


“เก๋อเนี่ยซาน-格聂神山” เป็นจุดสำคัญที่เราจะแวะไปในวันที่ 23 ตุลาคม 2566 ซึ่งเก๋อเนี่ยซาน นั้นเป็นภูเขา หรือ เรียกว่าแนวภูเขาก็ได้ เพราะมีภูเขาที่มีหิมะตกตลอดทั้งปี เรียงรายอยู่ 7 ลูกด้วยกัน และ มีความสูงเป็นอันดับที่ 3 ของมณฑลเสฉวน และ ในหมู่ชาวทิเบตมีความสูงอันดับที่ 13 จากทั้ง 24 แห่ง (ภูเขาที่มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี)  และ บริเวณนี้ยังมี ตาน้ำ หรือ บ่อน้ำที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้บนที่่ราบสูงความสูงกว่า 4000 เมตรนี้ จุดนี้จึงได้รับการเรียกขานว่า “ดวงตาแห่งเก๋อเนี่ย-格聂之眼”

กานจือ เสฉวน เก๋อเนี่ยซาน
ภูเขาเก๋อเนี่ยซาน

โดยภูเขาเก๋อเนี่ย แห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ๆ บริเวณเมืองปาถาง “巴塘” ซึ่งเมืองที่อยู่ใกล้ที่สุดก็จะเป็นเมืองหลี่ถาง “理塘” ซึ่งผู้ที่เดินทางไปย่าติง อาจจะคุ้นเคยกับชื่อเมืองนี้ ซึ่งทั้งสองเมืองนี้สามารถเช่ารถท้องถิ่น เช้าเย็นกลับได้เลย แต่ถ้าคิดจะพักใกล้ๆ จะมีหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่บริเวณเขาเก๋อเนี่ย ซึ่งต่อไปจะพัฒนาเป็นที่ท่องเที่ยวมีจุดให้แช่น้ำพุร้อนซึ่งก็คือ “หมู่บ้านหลันรื่อข่า-然日卡村” ซึ่งเป็นบ้านเกิดของไอดอลหนุ่มคนใหม่ของกานจือ ที่ชื่อว่า “ติงเกอ” ไปลองหากันเองนะครับ

กานจือ เสฉวน เก๋อเนี่ยซาน
บรรยากาศรอบๆ
กานจือ เสฉวน เก๋อเนี่ยซาน
ปัจจุบันถ้ายังไม่ถึงดวงตาแห่งเก๋อเนี่ยถนนก็ดีขึ้นเยอะครับ

และจากหมู่บ้านหลันรื่อข่า จะยังมุ่งหน้าไปยังดวงตาแห่งเก๋อเนี่ย นั้น ถนนจะไม่ค่อยดีเท่าไร แต่ระยะทางถือว่าใกล้ๆ มากๆ ซึ่งบริเวณนี้มีแห่งน้ำพุร้อนให้ได้แช่ หรือ ต้มไข่ แช่เท้ากันด้วยนะครับ

กานจือ เสฉวน เก๋อเนี่ยซาน
ดวงตาแห่งเก๋อเนี่ย

กานจือ เสฉวน เก๋อเนี่ยซาน

กานจือ เสฉวน เก๋อเนี่ยซาน

กานจือ เสฉวน เก๋อเนี่ยซาน
ภาพหมู ก่อนจาก

และเป้าหมายของวันนี้คืออุทยาน “ชั่วผู่โกว” ซึ่งยังมีระยะทางห่างจากที่นี่อีกประมาณ 200 กม. ซึ่งระหว่างทางจะผ่าน “ทะเลสาบสองพี่น้อง หรือ จื่อเม่ยหู-姊妹湖” ซึ่งถ้ามีจำนวนหิมะมากพอจะมีความสวยงามเป็นอย่างมาก

ทะเลสาบสองพี่น้อง
เป็นภาพเก่าของเดือน 5 เพราะเดือน 10 ที่มาหิมะน้อยมากครับ

โดยเราไปถึงอุทยาน “ชั่วผู่โกว” กันตอนเวลาประมาณ 22.00 น. และเราพักกันในบ้านพักอุทยานครับ

措普沟 ชั่วผู่โกว หรือ ชั่วปู่โกว แล้วแต่ออกเสียงชัดไม่ชัด ตามสะบายครับ ความหมายของก็ตามชื่อครับ เป็น ภาษาทิเบต มีความหมายว่า ทะเลสาบอันดับหนึ่งของชาวคังปา (คังปาคือชาวทิเบตที่อาศัยอยู่บริเวณกานจือ) ฉะนั้น ชั่วผู่โกว ก็คือทะเลสาบที่เป็นพรมแดนธรรมชาติของ 2 มณฑลนั่นเองครับ เป็นรอยต่อของทิเบต และ เสฉวน ซึ่งถ้าข้ามสถานที่นี้ไปก็จะเป็น พื้นที่ของทิเบต แล้ว นี่คือสถานที่หลักของ การเดินทางในวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ครับ

ชั่วผู่โกว
ที่พักในอุทยานยามค่ำคืน
ชั่วผู่โกว
เหมาที่พัก

ชั่วผู่โกว เป็นอุทยานที่เปิดมานานแล้ว แต่เริ่มทำให้เป็นที่รู้จักช่วงโควิดพอดี เลยยิ่งไม่มีคนรู้จักเลย และเปิดอย่างเป็นทางการในปี 2023 หรือ ปีนี้นั่นเอง และเมื่อเป็นทางการแล้ว จากเมื่อก่อนจะเปิดไป วัดชั่วผู่โกว และ สองทะเลสาบ คือด้านในสุดต้องเดินเท้าเข้าไป 3-5 กม. รถไปไม่ถึง ปัจจุบันมีรถเข้าไปด้านในสุดเลย แล้วค่อยเดินออกมา และทางทำมาดีมาก แต่เวลาเดินรู้สึกว่าทางเดินดินดิบๆ จะดีกว่านะครับ

ชั่วผู่โกว ชั่วผู่โกว

บริเวณวัดชั่วผู่โกว กับ 2 ทะเลสาบ

ชั่วผู่โกว
สองทะเลสาบ
ชั่วผู่โกว
ภาพรวมๆ ของทั้งอุทยาน
ชั่วผู่โกว
ภาพทะเลสาบจากมุมธรรมดา
ชั่วผู่โกว
มีมุมให้ถ่ายหลายจุดเหมือนกัน
ชั่วผู่โกว
อีกด้าน
ชั่วผู่โกว
วัดเล็กๆ ด้านหน้าทะเลสาบ

โดยในตอนเย็น วันนี้ก็กลับไปที่ความสูงระดับน้ำทะเลที่ไม่สูงมาก “หย่าเจียง” ครับ


วันที่ 25 ตุลาคม 2566 เป็นอีกวันที่มีแพลนหนาแน่น ยาวตั้งแต่ตื่นนอนเลยทีเดียว หลังจากกินข้าวเสร็จ นั่งรถมุ่งหน้าในทางกลับ และ แวะเที่ยวไปเรื่อยๆ โดยเป้าหมายแรก “ทุ่งหญ้าถ่ากง และ วัดถ่ากง” ไปเยี่ยวครับ ไม่สนไม่มีอะไรน่าเที่ยว ระหว่างทางที่แวะถ่ายภาพ บริเวณซินตูเฉียวสวยกว่าครับ แต่ไม่ได้ลงภาพครับ ไม่เกี่ยวกับรีวิวเท่าไหร่

โดยจุดแรกของวัน เราไปเปลี่ยนรถที่ ถ่ากง เพื่อมุ่งไปยังจุดชมวิวแห่งใหม่ ในพื้นที่ถ่ากง มีชื่อเรียกว่า “ปาหล่างเซิงตู-八郎生都” ทำไมมีชื่อแปลกๆ แบบนี้ มีความหมายว่าอะไร ตรงๆ เลยครับ หมู่บ้านตรงนี้ ขนาดเล็กๆ ในแนวหุบเขา มีชื่อเรียกว่า “หมู่บ้านปาหล่างเซิงตู” จบง่ายดี โดยจุดชมวิวนี้ จะสามารถมองเห็น “ภูเขาย่าลา” และ “ภูเขาก้งกา” แบบเต็มๆ 360 องศา

ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา

วิวด้านหลังเป็นด้านภูเขาก้งกา อยู่ไกลลิบลับ

ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา
ภูเขาหิมะหย่าลา

ภูเขาหิมะหย่าลาจะเป็นจุดหมายในวันพรุ่งนี้ ในย่อหน้าถัดจากนี้จะบอกถึงความหมาย

ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา

ส่วนด้านนี้จะเป็นวิวภูเขาหิมะหย่าลา

ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา
ภูเขาก้งกา อันยิ่งใหญ่
ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา
จุดถ่ายรูป
ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา
อีกภาพ
ปาหล่างเซิงตู หย่าลา ก้งกา
ลงอีกภาพ มันเปลืองพื้นที่

ในช่วงบ่ายของวันนี้ จะมุ่งหน้าไปยังอุทยานแห่งใหม่ที่เพิ่งเปิดในปีนี้ “อุทยานหินดำ หรือ ม่อสือกงหยวน-墨石公园” ตามชื่อครับ เป็นแนวหินแปลกสีดำ ที่อยู่บริเวณก่อนถึง ถ่ากง ซึ่งสมัยก่อนไม่อนุญาติให้นักท่องเที่ยวเข้าชม มีสัตว์น่ารักประจำท้องถิ่นคือ “ตัวหนูยักษ์มามอต” แต่ขอไม่เขียนข้อมูลมากเท่าไหร่ จะไปละเอียดกว่านี้ในบทความอื่นนะครับ

อุทยานหินดำ ม่อสือกงหยวน
ภาพหมู เล็กๆน้อยๆ
อุทยานหินดำ ม่อสือกงหยวน
ภาพมุมบน
อุทยานหินดำ ม่อสือกงหยวน
แนวเขาของอุทยาน

วันนี้เราจะพักกันที่เมือง “ปาเหม่ย” ใกล้ๆ ถ่ากง มีความสูงระดับน้ำทะเลพอๆกัน ลาซา ที่ 3700 เมตร แต่ร่างกายของหลายๆ ท่านไม่มีปัญหาอะไรกันแล้วครับ


วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เป้าหมายของเราในวันนี้ก็จะเป็น “อุทยานภูเขาหิมะหย่าลา(ย่าลา)-亚拉雪山风景区” เป็นอุทยานใหม่อีกแล้ว ยังสร้างจุดชมวิวกลางทางไม่เสร็จด้วย มีความหมายว่า “จามรีขาวทางทิศตะวันออก” แน่นอนเป็นแนวกั้นพื้นที่ชาวทิเบต กับ ชาวฮั่นในเสฉวน เพราะเป็นภูเขาหิมะศักดิ์สิทธิ์ของชาวทิเบตลูกสุดท้ายแล้ว ตั้งอยู่บนรอยต่อของพื้นที่ “ตันปา คังติ้ง เต้าฟู” สามเมืองเล็กๆนี้นะครับ และ วันที่ไป หิมะลงหนัก พอเราเข้าไปปั้ป ปิดอุทยานเลย สรุปคือ เหมาอุทยาน แต่ก็มองอะไรไม่เห็น ระยะทางขึ้นไปถึง ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ ด้านบน ทะเลสาบย่าลา ประมาณ 6 กม. กับระดับความสูงน้ำทะเล 3800-4000 เมตร (อนาคตชื่อทะเลสาบน่าจะเปลี่ยนอีก)

กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา

เส้นทางระหว่างเดินทางไปยังทะเลสาบด้านบน

กานจือ ภูเขาหิมะย่าลาด้านบนจะมีหิมะตกลงหนักตามความสูง

กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา
ภาพขนาดบ่อน้ำ
กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา
หิมะลงหนักมาก
กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา
หนาแน่น
กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา
บริเวณที่สามารถเข้าไปได้
กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา
ริมบ่อน้ำ
กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา
ช่วงที่หมอกหายไปช่วงนึง
กานจือ ภูเขาหิมะย่าลา
ภาพหมู

ในช่วงเย็นเราได้เข้าไปพักที่ค่ายทิเบตเจี่ยจวี ซึ่งภูเขารอบๆ เต็มไปด้วยหิมะ แต่ตัวผมเหนื่อยขี้เกียจถ่าย จะมีก็แต่สมาชิกที่เก็บรูปไว้ ซึ่งไม่ได้เอาขึ้นมาจัดแสดงนะครับ


วันที่ 27 ตุลาคม 2566 น่าจะเป็นสถานที่ธรรมชาติสุดท้ายของทริปนี้แล้วละครับ นั่นคือ “ทะเลสาบน้ำเต้าแห่ง ตั๋งหลิ่ง-葫芦海” ตามชื่อ เพราะว่าด้านบนที่ความสูง 4500 เมตร มีทะเลสาบสองแห่งติดกัน ลักษณะภาพถ่ายทางอากาศมีสภาพคล้ายๆ กับน้ำเต้า

กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
น้ำเต้ากลับหัว

ตั๋งหลิ่งอยู่ห่างจาก ตันปา ราวๆ 80 กม. เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ประชากรประมาณ 100 คน ยากจนมาก แต่ได้สถานที่นี้เข้ามาช่วยชีวิต เพราะทางเดินเทรคขึ้นเขาไปชมทะเลสาบนั้น สวยงามมาก ระยะทางไปกลับประมาณ 10 กม. สถานที่แห่งนี้เปิดตัวแก่ชาวโลกมาได้ประมาณ 4 ปีแล้ว แต่คนไม่ค่อยรู้จัก และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2567 หรือ 2024 นี้ครับ ปัจจุบันสามารถขี่ลา หรือ มอเตอร์ไซด์ก็ได้ ราคา 300 หยวนเท่ากัน แต่ขี่ลาจะได้บรรยากาศกว่า แต่จุดลงลาต้องเดินอีก 1.5 กม. เรียกว่า “ลานเครื่องบิน-飞机坪” ซึ่งเป็นลานกว้างบนความสูง 4350 เมตร มีความสวยงามมาก ส่วนรถมอเตอร์ไซด์ จะลงบริเวณ “กานไห่จื่อ-甘海子” ทะเลสาบลูกที่สามนั่นเอง

กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
ยินดีต้อนรับสู่บริเวณทางเข้าทะเลสาบ
กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า

เป็นอะไรที่แปลกตรงที่ปลายเดือน 10 เป็นต้นไป บริเวณนี้ช่วงก่อนเที่ยงจนถึงบ่าย จะมีหิมะตกลงมาแทบทุกวัน

กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า

ซึ่งหลัง 13.30 ถึง 14.30 น. ฟ้าจะเปิดแบบสดใสมากๆ เลยครับ

กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
เมื่อฟ้าเริ่มเปิด
กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
ฟ้าเปิดเมื่อยามบ่ายสองของทุกวัน
กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
สักพักฟ้าครึ้ม
กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
ฟ้ากึ่งเปิดกึ่งปิด
กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
พอลมหมด พื้นน้ำใสกิ้ง
กานจือ ทะเลสาบน้ำเต้า
หิมะตกหนักจนถึงบ่ายสี่โมง

และในตอนเย็น เราก็กลับมาพักในเมืองตันปา และ บริเวณใกล้ๆ กำลังจัดงานแข่งขัน นางงามตันปา เพื่อส่งไปประกวดนางงามทิเบตต่อไป

กานจือ
หน้างาน

วันที่ 28 ตุลาคม 2566 เป็นวันเดินทางกลับเฉิงตู เราก็พักด้านนอกรอบเมืองคือ “เมืองโบราณหวงหลงซี-黄龙溪古镇” ซึ่งปัจจุบันดูเงียบเหงาสุดๆ โล่งเลย

กานจือ
ประตูเมืองโบราณหวงหลงซี

และวันที่ 29 ตุลาคม 2566 ก็เดินทางกลับไทย จบแล้วเย้ สรุปสั้นๆ ไวๆ เนื่องจากไม่ค่อยว่าง ขอบคุณมากครับ ที่อื่นจนจบ