หมู่เกาะในประเทศไทย
หมู่เกาะพีพี-จังหวัดกระบี่
หมู่เกาะพีพี เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า ปูเลาปิอาปิ คำว่า ปูเลา แปลว่าเกาะ คำว่า ปิอาปิ แปลว่าต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง
เกาะล้าน-จังหวัดชลบุรี
เกาะล้าน หรือที่รู้จักกันในนามเกาะปะการังนั้นเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก เหตุที่เรียกเกาะล้านว่าเกาะปะการังนั้นเนื่องจากใต้ทะเลของบริเวณเกาะดังกล่าวเต็มไปด้วยปะการังที่สวยงาม
เกาะพะงัน-จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อยู่ห่างจากเกาะสมุยไปทางทิศเหนือ ประมาณ 20 กม. และอยู่ห่างตัวจังหวัดประมาณ 100 กม. เกาะพะงันมีเนื้อที่ประมาณ 170 ตรกม. เป็นหนึ่งในจำนวน 48 เกาะที่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง
หมู่เกาะมัน-จังหวัดระยอง
หมู่เกาะมัน เกาะมันนอก เป็นเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งในหมู่เกาะมัน ที่ตั้งเรียงกันอยู่ในอ่าวแกลง จ.ระยองตัวเกาะมีลักษณะเกือบกลม และสามารถเดินรอบเกาะเพื่อชมทิวทัศน์อันสวยงามได้ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
เกาะนางยวน-จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เกาะนางยวน เป็นเกาะหนึ่งในจำนวน 100 เกาะของจังหวัดสุราษฏร์ธานี อยู่ปลายของเกาะเต่ามองเห็นเป็นเกาะเล็กๆ 3 เกาะซึ่งเชื่อมต่อด้วยหาดทรายสีขาว 3 สาย
เกาะกูด-จังหวัดตราด
เกาะกูด-จังหวัดตราด เกาะกูด เป็นเกาะสุดท้ายในน่านน้ำทะเลตราด เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย เขตจังหวัดตราด อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
หมู่เกาะลันตา-จังหวัดกระบี่
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีเนื้อที่ประมาณ 152 ตารางกิโลเมตร ในอำเภอเกาะลันตา ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตาใหญ่ เกาะลันตาน้อย เกาะตะเล็งเบ็ง และเกาะใกล้เคียง
หมู่เกาะชุมพร-จังหวัดชุมพร
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร เป็นพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนกลางด้านตะวันตก ประกอบด้วยพื้นน้ำทะเล ชายหาด อ่าว ป่าชายเลน ภูเขา และเกาะน้อยใหญ่ทั้งสิ้น 40 เกาะ
หมู่เกาะอ่างทอง-จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นหมู่เกาะในอ่าวไทยท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากเกาะสมุยและเกาะพะงันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร
หมู่เกาะตะรุเตา-จังหวัดสตูล
ตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์ และความสวยงามของธรรมชาติ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ 40 กม. และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบารา 22 กม.