กล้องดิจิตอลแบบ SLR ได้เริ่มเข้ามาสู่ตลาดของผู้ใช้ทั่วๆ ไป โดยเฉพาะกล้องในรุ่นเริ่มต้น เช่น Canon EOS 300D และ Nikon D70 นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นกล้องที่มีคุณสมบัติที่เหมาะกับมืออาชีพจึงไม่จำเป็น ที่จะต้องอยู่ในมือของช่างภาพมืออาชีพเท่านั้น อีกทั้งกล้องเหล่านี้ยังมีขนาดใหญ่กว่า อวบอ้วนกว่ากล้องแบบคอมแพคท์โดยทั่วไป ดังนั้นมันจึงมีความจำเป็นที่คุณควรจะต้องรู้วิธีในการจับถือมันอย่างถูกต้อง และมั่นคงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการถ่ายภาพที่ดีที่สุด
ติดตามบทความแนะนำที่ง่ายและรวดเร็วในการจับกล้อง และคุณจะได้รับผลประโยชน์ในทันทีจาก การที่คุณสามารถนำไปใช้ใน การถ่ายภาพสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และคุณจะพบว่าภาพที่น่าจะเกิดการสั่นไหวจากกล้อง โดยเฉพาะถ้าหากไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้องนั้นจะลดจำนวนลงไปเป็นอย่างมาก นั่นหมายความว่าคุณจะถ่ายภาพที่ดีขึ้นได้มากกว่าเดิม ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งที่นิตยสารของเราตั้งใจไว้
ในตัวอย่างที่เราแสดงให้คุณดูนี้มีทั้งวิธีการที่ควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติ เมื่อทำการจับกล้องแบบ SLR ซึ่งในกรณีนี้คือกล้อง Nikon D100 เป็นกล้องมือโปรที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งคุณยังสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับกล้อง SLR ขนาดที่เล็กกว่าหรือกล้องคอมแพคท์แบบโปร เช่น Canon Pro 1 ได้
ขาตั้งมนุษย์
มันอาจจะเป็นไปไม่ได้หรือสะดวกทุกครั้งในการแบกขาตั้งกล้องไปไหนมาไหน ดังนั้นใช้ท่านั่งคุกเข่าลงบนพื้น เมื่อคุณไม่มีอะไรที่จะสามารถวางหรือพิงได้ ให้คุณคุกเข่าลงบนพื้นข้างหนึ่งและวางข้อศอกลงบนหัวเข่าอีกข้าง ซึ่งจะช่วยรองรับเหมือนกับเป็นขาตั้งกล้อง อย่าพยายามเกร็ง ตัว ซึ่งจะเป็นการง่ายที่คุณจะขยับปรับเปลี่ยนท่าด้วยหัวไหล่ของคุณและให้คุณกลั้นหายใจ เมื่อคุณกำลังจะถ่ายภาพโดยเฉพาะในกรณีที่มีมุมภาพที่ยากๆ ยิ่งคุณผ่อนคลายมากเท่าไหร่แขนและมือของคุณก็จะสั่นไหวน้อยลงเท่านั้น
ตั้งท่าให้มั่น ( รูปเครื่องหมายถูก )
นายแบบของเรานั้นทำท่าที่ถูกต้องและผ่อนคลายด้วยข้อศอกที่วางอยู่บนเข่าของเขาอย่างมั่นคง กล้องถ่ายภาพถูกถือไว้อย่างมั่นคง ในอุ้งมือของเขาด้วยตำแหน่งนิ้วมือที่สามารถทำการปรับวงแหวนโฟกัสได้อย่างสะดวก
ลดการแกว่ง ( รูปเครื่องหมายผิด )
แขนและข้อศอกนั้นไม่ได้ถูกรองรับโดยหัวเข่า ส่วนบนของร่างกายจะเกร็งและแข็ง ดังนั้นทั้งตัวของช่างภาพและกล้องก็จะประสบปัญหากับการสั่นไหว การที่กล้องถูกจับด้วยมือที่บริเวณขอบของตัวกล้องก็ทำให้กล้องไหวได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นการที่จะใช้มือในการปรับเลนส์และทำการกดปุ่มลั่นชัตเตอร์อีกด้วย
ทำให้ต่ำ ( รูปเครื่องหมายถูก )
นี่เป็นอีกท่าหนึ่งที่ผ่อนคลายแต่มั่นคง มีประโยชน์ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ และวัตถุที่อยู่นิ่งๆ (หรือสัตว์เลี้ยงและเด็กๆ ถ้าหากคุณสามารถบอกหรือสั่งให้อยู่นิ่งๆ ได้) สิ่งสำคัญที่สุดคือการนั่งโดยให้หัวเข่าของคุณชันขึ้น เพื่อให้ข้อศอกของคุณมีที่วางพักลงได้อย่างสบายๆ
นั่งสบายๆ ( รูปเครื่องหมายผิด )
มีท่าไหนที่ทำให้นายแบบของเราดูเกร็งและไม่สบายมากกว่าท่านี้หรือเปล่า? การงอข้อศอกในขณะที่ยืดขาออกไปนั้นดูไม่เข้าท่าและไร้ประสิทธิภาพ พอๆ กับการขาดที่รองรับกล้องที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการทำให้คอ และหลังของคุณปวดได้ นายแบบของเรายังไม่จับกล้องไว้อย่างมั่นคงพอ การจับกล้องที่บริเวณขอบอย่างนี้ทำให้ขาดความมั่นคง
พิงให้มั่น
โอกาสที่จะมีสิ่งที่มั่นคงอยู่ใกล้ๆ เช่น ต้นไม้ ประตู เสาไฟ นั้นมีมาก ดังนั้นใช้มันให้เป็นประโยชน์โดยใช้มันเป็นอุปกรณ์ช่วยในการสร้างความมั่นคงให้กับคุณ ซึ่งมันจะช่วยได้มากถ้าหากคุณใช้เลนส์เทเลโฟโต้หรือแม้กระทั่งเลนส์มุมกว้าง อาการสั่นไหวจะมีมากขึ้น เมื่อคุณใช้ช่วงซูมที่มีค่ามากๆ ดังนั้นให้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวคุณ
หาที่พิง
อีกครั้งที่นายแบบของเราทำการพิงตัวไปหาต้นไม้ด้วยท่าทางแปลกๆ แทนที่จะปล่อยให้ช่วงบนทั้งหมดของเขาพิงไปกับต้นไม้อย่างสบายๆ การที่เขาดันตัวไปข้างหน้าทำให้เกิดการเกร็ง และการจับกล้องแบบนี้แทนที่จะรองรับเอาไว้ด้วยอุ้งมือทำให้การปรับตั้งกล้องทำได้ยากลำบากมากขึ้น
ทำให้ต่ำ
ถึงแม้ว่าท่านี้จะทำให้คุณดูเหมือนหน่วยสวาทที่กำลังจะบุกจับผู้ร้าย แต่มันจะมีประโยชน์มาก เมื่อคุณกำลังจะถ่ายภาพโคลสอัพของวัตถุต่างๆ หรือกำลังทดลองโหมดมาโครของกล้องคุณ ท่าทางแบบนี้ทำได้งายมากเพียงแค่ คุณวางข้อศอกทั้งสองข้างลงบนพื้นพร้อมๆ กับดันตัวเองขึ้นมาก็จะได้ท่าทางที่ทะมัดทะแมงและมั่งคงมาก
นอนยัน
จะมีประโยชน์อะไรถ้าหากคุณนอนลงบนพื้นและใช้ประโยชน์จากข้อศอกเพียงข้างเดียวของคุณ? หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วินาทีร่างกายของคุณ (ซึ่งยังไม่ต้องพูดถึงกล้องในมือ) จะเริ่มสั่นมากขึ้น นั่นคือคุณต้องพยายามให้ทุกส่วนของร่างกายคุณได้ใช้งานอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันต้องผ่อนคลายให้มากที่สุดด้วย
เล็กๆ น้อยๆ น่ารู้
ถ้าคุณเพิ่งซื้อกล้อง SLR ตัวใหม่มาให้ฝึกฝนวิธรการจับถือกล้องของคุณให้ถนัดและคล่องมือที่สุด ฝึกฝนท่าทาง ตำแหน่งของปุ่มปรับตั้งต่างๆ ให้ชำนาญ เมื่อคุณได้นำมันออกไปใช้งานจริง ก็จะทำคุณเกิดความมั่นใจมากขึ้น
ที่มา : https://technology.msnth2.com |