Shoot it now!
|
อย่าปล่อยให้ค่ำคืนอันยาวนานในแต่ละวันส่งผลต่อจำนวนภาพถ่ายของคุณให้ลดลงแต่ประการใด แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ช่วงเวลานี้กลับถือเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมในการถ่ายภาพดวงจันทร์ในยามค่ำคืน เนื่องจากช่วงเวลากลางคืนมักจะทำให้มลภาวะทางอากาศที่จะทำให้ภาพมัวนั้นลดน้อยลง คุณสามารถนำเลนส์ส่วนใหญ่มาใช้ถ่ายภาพดวงจันทร์ได้ ถ้าหากต้องการจะให้ปรากฏอยู่ในภาพ ก็ควรจะใช้เลนส์อยู่ในช่วงประมาณ 50 มม. ถึง 300 มม. จุดที่สำคัญที่สุดก็คือ ให้จัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ดวงจันทร์นั้นปรากฏอยู่อย่างโดดเด่นภายในกรอบภาพ ให้ลองจัดดูโดยไม่ปล่อยให้ดวงจันทร์นั้นอยู่ตรงกลางภาพตามกฎการจัดภาพแบบสามส่วน (The Rule of Thirds) ถ้าเป็นไปได้ให้ถ่ายภาพในยามโพล้เพล้ เพื่อจะได้สามารถบันทึกรายละเอียดต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องฟ้าได้แทนที่จะเป็นสีดำทะมึนเพียงอย่างเดียว มองหาทำเลที่เหมาะสม และเมื่อคุณได้จัดภาพของคุณและ จัดขาตั้งกล้องเรียบร้อยแล้วให้ถ่ายภาพเป็นชุดในขณะที่ท้องฟ้านั้นมืดลง วัดแสงจากบริเวณท้องฟ้า เช็คที่ฮิสโตแกรมและถ่ายภาพคร่อมการเปิดรับแสงเอาไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย ถ้าหากกล้องของคุณสามารถถ่ายภาพซ้อนได้ล่ะก็ นี่ก็ถือเป็นวิธีที่ดีทีเดียวในการนำภาพดวงจันทร์เข้าไปยังภาพของคุณ ให้ถ่ายภาพดวงจันทร์ท่ามกลางท้องฟ้าสีมืดมิด โดยใช้ค่าเปิดรับแสงประมาณ 1/200 วินาที ที่ f/11 (ISO 200) หรือเทียบเท่า เช็คที่ฮิสโตแกรมเพื่อดูให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เปิดรับแสงมากเกินไป จากนั้นก็ถ่ายภาพที่สอง โดยใช้ค่าเปิดรับแสงในแบบปกติ ท้ายสุดนำเอาภาพสองภาพมารวมเข้าด้วยกันโดยการใช้ Layers and Blends ใน Photoshop เบื้องหลังภาพถ่าย พวกเราส่วนใหญ่มักจะเฝ้าฝันถึงภาพแบบนี้กัน แต่คุณจะต้องมีช่วงทางยาวโฟกัสที่พอเพียงที่จะสามารถดึงเอาดวงจันทร์เข้ามาใกล้ขนาดนี้ แม้ว่าจะใช้เลนส์ขนาด 400 มม. และคอนเวอร์เตอร์ขนาด 2x ติดเข้าไปยัง EOS 20D หรือ Nikon D80 ก็ตาม คุณก็ยังเติมเต็มภาพเข้าไปได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งเลย ถึงแม้ว่าหากนำไปตัดส่วนภาพภายหลังจะให้ผลลัพธ์ที่ดีก็ตาม ในกรณีที่คุณอยากจะเอาจริงเอาจังกับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ คุณต้องมีกล้องเทเลสโคปรวมถึงอะแดปเตอร์สำหรับกล้องของคุณด้วย ที่มา : https://technology.msnth2.com |